คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรบำบัด

สมุนไพร : บำบัดโรค


          ถ้าจะกล่าวว่า พืชสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยก็คงไม่แปลก เพราะทั้งอาหารที่บริโภคก็มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพร ซึ่งทั้งอร่อยและบำบัดโรค รวมถึงน้ำดื่มดับกระหายคลายร้อนหรือชาสมุนไพรที่เคยดื่มเคยจิบกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยมีทั้งเก็กฮวย ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ใช้ดื่มดับกระหาย โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังกำนัลด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ด้วยวันและเวลาผ่านไป ใครหลายคนคงลืมน้ำสมุนไพรเหล่านี้ไปแล้วลองย้อนวันเวลากลับไปทบทวนความรู้สึกเมื่อครั้งวัยเยาว์ที่ได้ดื่มน้ำสมุนไพรหรือน้ำชาเหล่านี้ ว่าทำให้เรามีแรงกระโดดโลดเต้นได้มากมายเพียงใด


ความหมายของสมุนไพร

           สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ "พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

          สมุนไพรออกได้เป็น ๓ กลุ่ม เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๑ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นอาหาร ถ้าเป็นสมุนไพรที่เป็นอาหาร อย่างนี้นักธรรมชาติบำบัดสอนให้คนนำมากินอาหารได้ กินสมุนไพรแล้วต้านโรคอย่างนี้ เราสอนกันได้
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๒ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นยา หมายความว่าเป็นสมุนไพรที่โดยปกติคนไม่เอามารับประทานเป็นอาหาร แต่ใช้เพื่อเป็นยาโดยเฉพาะ เช่น ฟ้าทะลายโจร เวลาพูดเรื่องฟ้าทะลายโจร ต้องบอกว่านี่มันเป็นงานของเภสัชกร และของแพทย์ เราไม่ควรไปรู้จักมันเลยจะดีกว่า นอกจากว่าเวลาเจ็บป่วย แล้วให้ท่านเหล่านั้นเป็นผู้แนะนำเรา
                  พวกสมุนไพรที่เป็นสารอาหาร กินผิดกินถูกไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ากินถูกก็ได้กำไร สมุนไพรกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นยา ยังไม่ใช่เป็นยาอันตราย นักธรรมชาติบำบัดจะไม่ไปยุ่งกับเรื่องนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้มีความรู้เฉพาะทางคือแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๓ เรียกว่าสมุนไพรที่เป็นยาพิษ ที่จริงพวกนี้ก็เป็นสมุนไพร ถ้าว่ากินตามหลักของหมอชีวกโกมารภัจ ท่านอาจารย์หมอในสมัยพุทธกาล พวกสารหนู กำมะถัน มันเป็นสมุนไพรที่เป็นยาพิษ แต่ว่าแพทย์หรือเภสัชกรสามารถเอาไปทำยาได้ สารหนูก็เหมือนกัน ที่จริงสารหนูมันคือยาพิษกินเข้าไปตายแน่นอน แต่มันไปเข้าตำรับยาลม ยาแก้ลมที่เรากินกันต้องมีสารหนูมันถึงจะทรงสรรพคุณ แต่เมื่อเข้าอยู่ในตำรับยาแล้ว มันไม่เป็นพิษ แต่ต้องปรุงโดยเภสัชกรหรือแพทย์
 
 ลักษณะของพืชสมุนไพร

         "พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
                1. ราก
                2. ลำต้น
                3. ใบ
                4. ดอก
                5. ผล
         "พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหาร มาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหารดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร
       
         1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่นกระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            1.1  รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
            1.2 ร ากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็น
 รากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
     
      2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
           2.1  ประเภทไม้ยืนต้น
           2.2  ประเภทไม้พุ่ม
           2.3  ประเภทหญ้า
           2.4  ประเภทไม้เลื้อย
   
      3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น
          ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
                1. ตัวใบ
               2. ก้านใบ
               3. หูใบ
           ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
               1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
              2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว  มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น

     4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก
          ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
              1. ก้านดอก
              2. กลีบรอง
              3. กลีบดอก
              4. เกสรตัวผู้
              5. เกสรตัวเมีย

     5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน
         แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
             1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน
             2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
             3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด
          มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
            1. ผลเนื้อ
            2. ผลแห้งชนิดแตก
            3. ผลแห้งชนิดไม่แตก

คุณค่าจากน้ำดื่มสมุนไพร

          ดื่มเพื่อดับกระหาย ช่วยปรับธาตุและได้ทั้งสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคได้บางโรค ที่สำคัญราคาไม่แพง ดื่มได้ตลอดเวลา ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะเกิดจากการใช้ใบ ดอก ผล เกสร เปลือก รากของพืช มาผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด อาจใช้วิธีการต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร (ซึ่งหากเลี่ยงการใส่น้ำตาลได้จะเป็นการดี เพื่อที่จะได้รับกลิ่นของพืชได้ดีขึ้น) หรืออาจจะตากแห้งเพื่อชงเป็นชาดื่ม (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมระเหยขณะดื่มร้อนๆ ผู้ดื่มจะสูดรับกลิ่นหอมเข้าไปด้วย ก่อให้เกิดผลทางสุคนธบำบัดแก่ร่างกาย)

ชนิดน้ำสมุนไพร ส่วนที่ใช้และวิธีทำ ประโยชน์และสรรพคุณ
     
       น้ำตะไคร้
              ใช้ตะไคร้ 3 - 5 ต้นหั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใช้นำลิตรครึ่งต้มพอเดือด กระองเอากากออก แล้วต้มต่ออีกราว 3 นาที หรือใช้เหง้าแก่ฝานเป็นแว่น คั่วไฟอ่อนๆ ชงเป็นชา ตะไคร้มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย

        น้ำกระเจี๊ยบ
              เลือกดอกกระเจี๊ยบแดง คัดเอากลีลหนึ่งขีดครึ่งใส่ในหม้อเคลือบ เติมน้ำ 3 - 4 ลิตร ต้มนาน 30 - 40 นาที จนน้ำต้มเป็นสีแดงสดกรองเอากากออก ดื่มแก้กระหาย ให้ความสดชื่น กัดเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อนๆ

        น้ำบัวบก
             ใช้ต้นบัวบกสด ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ เติมน้ำสุกลงไปพอประมาณ กรองกากออกจะดืมน้ำคั้นสดหรือเติมน้ำเชื่อมนิดหน่อยก็ได้ ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ มีวิตามินเอและแคลเซียมในปริมาณสูง

       น้ำเชอร์รี่
             นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียด นำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่วงไปคั้นกับกากเชอร์รี่ให้แห้งมากที่สุด นำน้ำเชอร์รี่ที่คั้นได้ ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

       น้ำฝรั่ง
            เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเนื้อชิ้นเล็กๆนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจน ละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและมีสาร เบต้า-แคโรทีน ช่วยลดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจ้บที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเลือดแข็งตัว ช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดอุดตัน

      น้ำข่า
            เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น .เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้ ช่วยขับลมได้อย่างดี ป็นการระบายลมออกมา จากลำใส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว

      น้ำคะน้า
           นำใบคะน้าล้างให้สะอาด หั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกครึ่งหนึ่งปั่นจนละเอียด นำมากรอง จากนั้นเติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปเติมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ ชิมรสตามชอบ ให้วิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่ง เบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านการก่อมะเร็งรองลงมามีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้ดี ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

 น้ำมะเฟือง
         ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

 น้ำมะขาม
         นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ คุณค่าทางอาหาร:: มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

        ส่วนวิธีการดื่มที่ถูกวิธี ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
         การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซนเซียสขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง,จุรินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง
         1. thaihealth.or.th
         2. http://www.google.co.th/images?
         3.  http://www.oknation.net/blog/mamladda/2007/12/12/entry-        
         4. http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=118
         5. ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ
         6. http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=727
             http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/232

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น