คลังบทความของบล็อก

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ผักพื้นบ้าน


ผักพื้นบ้าน คือ พรรณพืชพื้นบ้านในท้องถิ่น ที่ชาวบ้านนำมาบริโภคเป็นอาหาร เป็นยารักษาโรค หรือนำมาทำเป็นของใช้สอยในครัวเรือน

ผักพื้นบ้านนอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ส่วนใหญ่ยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร เนื่องจากมีรสยาที่หลากหลายอยู่ในผักพื้นบ้าน ตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย ให้ความสำคัญกับรสอาหารพื้นบ้าน ดังนี้

รสฝาด มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยสมานแผล แก้ท้องร่วง บำรุงธาตุในร่างกาย เช่น ยอดมะม่วง ยอดมะกอก ยอดจิก ยอดกระโดน ฯลฯ
รสหวาน มีสรรพคุณทางยา คือ ช่วยให้มีการดูดซึมได้ดีขึ้น ทำให้ชุ่มชื้น บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย เช่น เห็ด ผักหวานป่า ผักขี้หูด บวบ น้ำเต้า ฯลฯ
รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณทางยา คือ แก้ท้องอืด แก้ลมจุกเสียด ขับลม บำรุงธาตุ เช่น ดอกกระทือ กระเทียม ดอกกระเจียวแดง ดีปลี พริกไทย ใบชะพลู ขิง ข่า ขมิ้น กระชาย ฯลฯ
รสเปรี้ยว มีสรรพคุณทางยา คือ ขับเสมหะ ช่วยระบาย เช่น ยอดมะขามอ่อน มะนาว ยอดชะมวง มะดัน ยอดมะกอก ยอดผักติ้ว
รสหอมเย็น มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย เช่น เตยหอม โสน ดอกขจร บัว ผักบุ้งไทย เป็นต้น
รสมัน มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงเส้นเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ เช่น สะตอ เนียง ขนุนอ่อน ถั่วพู ฟักทอง กระถิน ชะอม
รสขม มีสรรพคุณทางยา คือ บำรุงโลหิต เจริญอาหาร ช่วยระบาย เช่น มะระขี้นก ยอดหวาย ดอกขี้เหล็ก ใบยอ สะเดา เพกา ผักโขม
นอกจากคุณค่าทางยาแล้ว ผักพื้นบ้านยังมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

สารสำคัญในผักพื้นบ้าน ที่สามารถป้องกันการเกิดโรคต่างๆ ได้แก่ สารเบต้าแคโรทีน ซึ่งพบในผักใบเขียวจัดๆ เช่น ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ใบตำลึง ใบบัวบก ใบแมงลัก ผักชีลาว ผักแว่น ใบขี้เหล็ก ใบกะเพรา นอกจากนี้ ยังพบในผลไม้ที่มีสีเหลือง เช่น มะละกอสุก ฟักทอง มะปราง

นอกจากสารเบต้าแคโรทีนดังกล่าวแล้ว ในผักสด ยังพบว่ามีวิตามินซีสูง ซึ่งวิตามินซีมีบทบาทในการสร้างภูมิต้านมะเร็ง คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สามารถปกป้องเซลล์ในร่างกายจากการเป็นมะเร็ง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรง และเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานของเม็ดเลือดขาวได้

วัฒนธรรมพื้นบ้านของคนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ มักจะเก็บผักพื้นบ้านจากริมรั้ว จากป่า ไร่นา หรือสวน เป็นผักสดๆ มาประกอบเป็นอาหาร ผักสดยิ่งสดเท่าไรก็ยิ่งมีวิตามินซีสูงเท่านั้น

ดังนั้น ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนไทย ผักบางชนิดที่นำมารับประทานสดๆกับน้ำพริก คนไทยก็มักจะนำมารับประทานเลย ซึ่งได้วิตามินซีและเกลือแร่อื่นๆ สูง ในบางชนิดอาจเป็นอันตรายถ้านำมารับประทานเลย ก็จะนำมาลวก ต้ม ตามภูมิปัญญาดั้งเดิม

การดูแลสุขภาพของตนเองด้วยวิธีธรรมชาติ การรับประทานผักพื้นบ้านที่ปลอดสารพิษ หรือปลูกผักไว้รับประทานกันเองในครัวเรือน นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดโรคต่างๆ แล้ว ยังช่วยประหยัด และช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน

ดังนั้น เราควรจะส่งเสริมให้มีการปลูกผักริมรั้ว เพื่อนำมาประกอบเป็นอาหาร แทนการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีบริเวณที่จะปลูกต้นไม้ หรือผักไว้กินได้มากนัก เนื่องจากการถูกจำกัดเรื่องสถานที่ แต่เราสามารถปลูกผักสวนครัวไว้กิน โดยการปลูกไว้ในกระถาง เช่น พริก โหระพา กะเพรา แมงลัก ชะพลู ผักชี ผักแพว เป็นต้น ซึ่งปลูกง่าย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อีกทั้งยังปลอดภัยจากสารพิษ

สำหรับผู้ที่มีที่ดินพอปลูกผักริมรั้ว ที่เป็นไม้ยืนต้น ที่เก็บไว้กินได้หลายๆ ปี เช่น แค กระถิน ชะอม สะเดา การนำพืชเหล่านั้นมาปลูกในที่ไม่ต้องการ การดูแลมากนัก นอกจากจะเก็บมาเป็นอาหารที่มีคุณค่าแล้ว ยังช่วยเป็นรั้วบ้าน และให้ร่มเงาทำให้สดชื่น ถ้าเหลือกินในครอบครัวก็สามารถแบ่งให้เพื่อนบ้าน หรือเก็บไปขายได้

จากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าภูมิปัญญาดั้งเดิม วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยในสมัยโบราณที่อยู่แบบอบอุ่นพึ่งตนเองได้ ปัจจุบันคนไทยกำลังหวนคืนสู่บรรยากาศนั้น เพื่อความเป็นอยู่ที่เป็นเอกลักษณ์ของคนไทย การช่วยเหลือจุนเจือกัน การช่วยเหลือตัวเองในระดับครอบครัว ชุมชน เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คนไทยควรจะเห็นความสำคัญ เพื่อความอยู่รอดของเราคนไทย และเพื่อชาติไทย

อาหารประจำธาตุเจ้าเรือน

ธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม ได้แก่ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง เผือก ถั่วต่างๆ เงาะ น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ ฯลฯ
ธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม ได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะระ สะเดา ฯลฯ
ธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะเพรา ฯลฯ
ธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม เย็น จืด ได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม บัวบก ขี้เหล็ก ฯลฯ
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 133 มกราคม 2555 โดย สถาบันการแพทย์แผนไทย)
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/?p=5380

อาหารสมุนไพร6


ลาบ เป็นอาหารประเภทหนึ่ง ที่ใช้ปลาหรือเนื้อดิบสับให้ละเอียด ผสมด้วยเครื่องปรุงมีพริก ปลาร้า เป็นต้น ถ้าใส่เลือดวัวหรือเลือดหมู เรียกว่า ลาบเลือด ชาวอีสานทุกครัวเรือน มักนิยมทำอาหารประเภทลาบ ในงานบุญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานบวชพระ งานศพ งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น
ลาบปลาดุก ก็เป็นอาหารประเภทหนึ่งในบรรดาลาบทั้งหมดที่ขึ้นชื่อของอาหารอีสาน และทุกภาครู้จักกันดี เนื่องจากปลาดุกเป็นปลาน้ำจืดที่หาได้ในท้องถิ่น มีรสมัน หวาน เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด และก้างน้อย จึงนิยมนำมาประกอบอาหารประกอบ

เครื่องปรุง ปลาดุกอุยหนักประมาณ 300 กรัม 1 ตัว

ข้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
พริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ข่าโขลกละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนชา (15 กรัม)
ต้นหอมซอย 2 ช้อนชา (15 กรัม)
หอมแดงฝอย 2 ต้น (10 กรัม)
ใบสะระแหน่ 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
น้ำมะนาว ถ้วย (50 กรัม)
น้ำปลา 2-3 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ผักสด กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา
วิธีทำ

ล้างปลาดุกให้สะอาด ขูดเมือกบนผิวออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อ สับหยาบๆ
เคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย ใบมะกรูดหั่นฝอย
ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว คลุกเคล้ากันให้ทั่ว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอมซอย ชิมรสตามชอบ รับประทานกับกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ใบโหระพา
สรรพคุณทางยา

ข้าวสาร รสมันหอมหวาน บำรุงร่างกาย แก้ตาฟาง แก้เหน็บชา แช่น้ำ ตำเป็นแป้งพอก แก้บวม แก้ปวด
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
ข่า รสเผ็ดปร่าร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตในมดลูก ขับลมในลำไส้
ใบมะกรูด รสปร่ากลิ่นหอมติดร้อน ใช้ปรุงอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาว แก้โรคลักปิดลักเปิด ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้ลมจุกเสียด
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
สะระแหน่
- ใบ/ยอดอ่อน รสหอมร้อน ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ
มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำในลูก รสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
กะหล่ำปลี รสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
ถั่วฝักยาว รสมันหวาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
โหระพา ใบรสเผ็ดปร่าหอม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้ลมวิงเวียน ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ ขับเสมหะ
ประโยชน์ทางอาหาร
ลาบปลาดุก มีรสจัด เปรี้ยว เผ็ด เค็ม ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยอาหาร เนื่องจากส่วนประกอบแต่งด้วยสมุนไพรหลากหลายชนิด

คุณค่าทางโภชนา
ลาบปลาดุก 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 553 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

น้ำ 504.16 กรัม
โปรตีน 74 กรัม
ไขมัน 9.3 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 44 กรัม
กาก 7.36 กรัม
ใยอาหาร 0.9 กรัม
แคลเซียม 565.3 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 408.05 มิลลิกรัม
เหล็ก 25 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 240.3 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 20069.55 1 IU
วิตามินบีหนึ่ง 28.66 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.9 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 5.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 65.5 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=104

อาหารสมุนไพร5


ส้มตำ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน หมายถึง ของกินชนิดหนึ่ง เอาผลไม้มีมะละกอเป็นต้น มาตำประสมกับเครื่องปรุง มีรสเปรี้ยว บางท้องถิ่นเรียก ตำส้ม

ส้มตำ เป็นอาหารยอดนิยมองคนไทยโดยเฉพาะ คนอีสาน พบได้ทุกสถานที่ โดยเฉพาะตามสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น ทะเล ภูเขา น้ำตก ฯลฯ จะพบอาหารนี้ได้ทุกซอกทุกมุม ซึ่งหารับประทานได้ง่ายตามสถานที่ทั่วไป แม้แต่ตามซอกซอยตามภัตตาคารหรือตามห้างต่าง ๆ เรียกว่า ส้มตำเป็นอาหารจานโปรดของทุกคนเลยก็ว่าได้ ทำเอาพ่อค้า แม่ขาย อาชีพนี้รวยไปตาม ๆ กัน ส้มตำมีหลายประเภท ได้แก่ ส้มตำไทย, ส้มตำไทยใส่ปู, ส้มตำปูใส่ปลาร้า, ส้มตำลาวใส่มะกอก ส้มตำมักรับประทานกับข้าวมันหรือข้าวเหนียว และแกล้มกับผักชนิดต่าง ๆ

ส้มตำ เป็นภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป ชาวอีสานเรียก ตำบักหุ่ง หรือ ตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานมีความหลากหลายมาก พืชผัก ผลไม้ ชนิดต่าง ๆ ก็สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรด ตำมะขาม เป็นต้น

ส้มตำลาวของชาวอีสานจะใส่ผลมะกอกเข้าไปด้วย เพื่อเพิ่มรสชาติ โดยฝานเป็นชิ้นรวมกับส้มตำมะละกอ ช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น ส้มตำลาวเป็นเมนูอาหารหลักของชาวอีสาน รองจากข้าวเหนียว คือ สามารถรับประทานกันได้ทุกวันและทุกมื้อ วัฒนธรรมการกินอาหารอย่างหนึ่งของชาวอีสาน คือ หากมื้อใดมีการทำส้มตำรับประทานก็มักจะเรียกเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงมาร่วมกันสังสรรค์ รับประทานส้มตำด้วย บางคนถึงกับบอกว่า ทานคนเดียวไม่อร่อย ต้องทานหลาย ๆ คน หรือแย่งกันทาน เรียกว่าส้มตำรวยเพื่อนก็ไม่ผิดนัก

บางครั้งส้มตำลาวจะอร่อยหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับปลาร้าเป็นสำคัญ ถ้าหากปลาร้าอร่อยมีรสชาติดี ก็จะทำให้ส้มตำลาวครกนั้นมีรสชาติอร่อยไปด้วย ปลาร้าที่ใส่ส้มตำสามารถใส่ได้ทั้งน้ำและตัวปลาร้า หรือบางคนก็ใส่แต่น้ำปลาร้า ใส่เพื่อพอให้มีกลิ่น แล้วแต่คนชอบ แต่ต้องทำให้สุกเสียก่อน ชาวอีสานส่วนใหญ่ยังมีความคิดว่ากินปลาร้าดิบ แซ่บกว่าปลาร้าสุก ด้วยความคิดเช่นนี้จึงทำให้หลายคนกินปลาร้าแล้วได้พยาธิแถมเข้ามาอยู่ในตัวด้วย ถึงแม้ว่าการใช้เกลือประมาณร้อยละ 30 ของน้ำหมักปลาในการหมัก ก็เป็นเพียงการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษได้เท่านั้น แต่ยังไม่มีคำยืนยันจากนักวิชาการว่าเกลือสามารถฆ่าพยาธิได้

นอกจากนี้จากผลการวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังพบว่าในปลาร้าดิบมีสารที่ยับยั้งการทำงานของวิตามินบีหนึ่ง ซึ่งการที่จะทำให้สารชนิดนี้หมดไปได้ มีวิธีเดียวเท่านั้น คือ การทำให้สุกโดยใช้ความร้อน

เครื่องปรุง

มะละกอสับตามยาว 1 ถ้วย (100กรัม)

มะเขือเทศสีดา 3 ลูก (30 กรัม)

มะกอกสุก 1 ลูก (5 กรัม)

พริกขี้หนูสด 10 เม็ด (15 กรัม)

กระเทียม 10 กลีบ (30 กรัม)

น้ำมะนาว 1-2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

น้ำปลา 1/2 ช้อนโต๊ะ (8 กรัม)

น้ำปลาร้าต้มสุก 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)

ผักสด ถั่วฝักยาว กำหล่ำปลี ยอดผักบุ้ง ยอดและฝักกระถิน

ยอดมะยม ชนิดละ 50 กรัม

วิธีทำ

โขลกกระเทียม พริกขี้หนู พอแตก
ใส่มะละกอ มะเขือเทศผ่าซีก ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกัน
ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ พอเข้ากัน ชิมรสตามชอบ รับประทานกับฝักสด
สรรพคุณทางยา

มะละกอ ผลดิบ ต้มกินเป็นยาบำรุงน้ำนม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
มะเขือเทศ รสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสี และกลิ่นอาหาร ช่วยระบาย บำรุงผิว
มะกอก รสเปรี้ยว ฝาด หวาน แก้โรคธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ผักแกล้มต่าง ๆ ได้แก่
- ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
- กะหล่ำปลี รสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
- ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินใช้เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนู
- กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ
- มะยม ใบต้มกิน เป็นยาแก้ไอ ช่วยดับพิษไข้ บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร แก้พิษไข้อีสุกอีใส โรคหัดเหือด
รสและสรรพคุณ

มะละกอดิบ (ผลยาว) มีรสหวาน ปลูกได้ทั่วไปในทุกภาค ออกผลตลอดปี
- ในทางยา ต้นมะละกอ สรรพคุณ แก้มุตกิต ขับระดูขาว
- ดอกมะละกอ สรรพคุณ ขับประจำเดือน ลดไข้
- ราก รสขมเอียน สรรพคุณ ขับปัสสาวะ
- เมล็ดอ่อน สรรพคุณ แก้กลากเกลื้อน
- ยางมะละกอ สรรพคุณ ช่วยกัดแผลรักษาตาปลา และหูด ฆ่าพยาธิหลายชนิด ในการทำอาหาร – ยอดอ่อนนำมาดองและรับประทานเป็นผักได้ ส่วนผลดิบ ปรุงเป็นอาหารหลายชนิด ผลมะละกอดิบ หั่นเป็นชิ้น นึ่งหรือต้มให้สุกและรับประทานเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรืออาจปรุงเป็นผัดมะละกอ โดยนำผลห่ามหั่นฝอยเป็นชิ้นยาว ๆ ผัดกับไข่และหมูได้ นอกจากนี้เนื้อมะละกอยังนำมาปรุงเป็นแกงส้ม แกงอ่อมได้
มะกอก เมื่อรับประทานทีแรกมีรสเปรี้ยวอมฝาด แต่เมื่อถึงคอแล้วหวานชุ่มคอ อุดมด้วยวิตามินซีใช้เป็นยาฝาดสมาน และแก้โรคลักปิดลักเปิด เปลือกมีกลิ่นหอม ฝาดสมานและเป็นยาเย็นใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้ ระงับอาเจียน ยอดอ่อน
- ใบอ่อนและผลสุกใช้รับประทานเป็นผัก ยอดอ่อนและใบอ่อนออกมากในฤดูฝน และออกเรื่อย ๆ ตลอดปี
- ส่วนผลเริ่มออกในฤดูหนาวผลสุกรสเปรี้ยว เย็น หวาน ฝาด ทำให้ชุ่มคอ แก้กระหายน้ำ แก้เลือดออกตามไรฟันในด้านการนำมาทำอาหาร คนไทยทุกภาครู้จักและรับประทานยอดมะกอกเป็นผักสด ในภาคกลางรับประทานยอดอ่อน ใบอ่อน ร่วมกับน้ำพริกปลาร้า เต้าเจี้ยวหลน ชาวอีสานรับประทานร่วมกับลาบก้อย แจ่วป่น และฝานผลเป็นชิ้นรวมกับส้มตำมะละกอ หรือพล่ากุ้งช่วยให้รสชาติอร่อยขึ้น
ประโยชน์ทางอาหาร
ส้มตำ 1 ครก จะมีหลายรสชาติ เช่น เปรี้ยว มัน เค็ม หวาน (น้ำตาลแล้วแต่คนชอบ) ขม (เปลือกมะนาวหรือผลมะกอก) อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่ให้คุณค่าแก่ร่างกายสูง โดยเฉพาะเมื่อนำมาแกล้มกินกับผัก คนอีสานนิยมรับประทานกับเส้นขนมจีน ว่ากันว่ารับประทานเข้ากันดีนัก สำหรับคนภาคกลางมักจะรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ เช่น ส้มตำ ไก่ย่าง, ลาบ, น้ำตก, ข้าวเหนียว เรียกว่าเป็นเมนูชุดใหญ่โดยมีส้มตำเป็นอาหารหลักเลยทีเดียว ซึ่งก็จะช่วยให้เราได้สารอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์เพิ่มไปด้วย นอกเหนือจากการกินแต่ผักอย่างเดียว

คุณค่าทางโภชนาการ
ส้มตำลาวใส่มะละกอ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 205 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

น้ำ 417.77 กรัม
โปรตีน 17 กรัม
ไขมัน 2.856 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 29 กรัม
กาก 5.75 กรัม
ใยอาหาร 2.67 กรัม
แคลเซียม 163.4 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 190.36 มิลลิกรัม
เหล็ก 24.27 มิลลิกรัม
เบต้า-แคโรทีน 473.9 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 12243 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.552 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.5 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 5.545 มิลลิกรัม
วิตามินซี 162 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=108

อาหารสมุนไพร4


ใบบัวบก ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ ชะลอความแก่ กระตุ้นการสมานแผลให้เร็วขึ้น

ส่วนผสมยำใบบัวบก

ใบบัวบก 20 ใบ
กุ้งเสียบ 15 ตัว
น้ำพริกเผา 1 ช้อนโต๊ะ
มะพร้าวคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 3/4 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลเล็กน้อย
วิธีทำยำใบบัวบก

ล้างใบบัวบกให้สะอาด หั่นเป็นท่อนพอดีคำ พักไว้
ผสมน้ำพริกเผา มะพร้าวคั่ว น้ำปลา น้ำมะนาว และน้ำตาลทรายเข้าด้วยกันเป็นน้ำยำ
นำใบบัวบกมาคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้ากัน จากนั้นตักใส่จานและโรยหน้าด้วยกุ้งเสียบ จัดแต่งให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ
นำปลากะพงที่ปั้นได้รูปแล้วเขาอบในเตา ก่อนที่จะนำไปทอดบนกระทะเทฟลอน ใส่น้ำสต๊อกผักลงไปเล็กน้อย
แต่งหน้าด้วยมะเขือเทศหั่นขวาง ผักชี และใบสะระแหน่ พร้อมเสิร์ฟกับน้ำจิ้มรสเด็ด
สรรพคุณทางยา

บัวบก ทั้งต้นรสหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้กระหายน้ำ แก้ช้ำใน
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
พริกขี้หนูสด รสเผ็ดร้อน ขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร
มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
คุณค่าทางโภชนาการ

ยำบัวบก 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 285.67 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

น้ำ 284.23 กรัม
ไขมัน 3.58 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 42.63 กรัม
โปรตีน 21.67 กรัม
กาก 7.91 กรัม
แคลเซียม 1,174.66 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 379.86 มิลลิกรัม
เหล็ก 17.49 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 26,869.85 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.67 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.34 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 5.02 มิลลิกรัม
วิตามินซี 29.1 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=113

อาหารสมุนไพร3


เครื่องปรุง

1.ไก่บ้าน 1 ตัว (100กรัม)

2.ตะไคร้ 2 ต้น (30 กรัม)

3.ขมิ้น 2 นิ้ว (10 กรัม)

4.กระเทียม 3 หัว (30 กรัม)

5.หอมแดง 5 หัว (45 กรัม)

6.ข่า 7 แว่น (50 กรัม)

7.เกลือป่น 2 ช้อนชา (5 กรัม)

8.ส้มแขก 5 ชิ้น (5 กรัม)

วิธีทำ

ล้างไก่ให้สะอาด แล้วสับชิ้นพอคำ
ทุบตะไคร้ให้แตก หั่นเป็นท่อน 2-3 นิ้ว ทุบข่า ขมิ้น แล้วบุบหอมแดง กระเทียม
เอาน้ำ 4 ถ้วยใส่หม้อตั้งไฟ พอเดือด ใส่เครื่องที่เตรียมไว้ (ข้อ 2) ต้มสักพักจนเครื่องหอม ใส่ส้มแขก
ใส่ไก่ต้มจนสุก ใส่เกลือ น้ำตาล ปรุงรสตามชอบ ยกลง
สรรพคุณทางยา

ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะบำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร
กระเทียม รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคทางผิวหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ขับลมในลำไส้ ขับพิษโลหิตในมดลูก
ขมิ้นชัน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม เจริญอาหาร รักษาโรคผิวหนัง
ส้มแขก รสเปรี้ยว ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ไอขับเสมหะ
มะขาม รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย
คุณประโยชน์ทางอาหาร

ไก่ต้มขมิ้น เป็นอาหารที่มีรสเปรี้ยวนำ เหมาะสำหรับคนธาตุน้ำ เป็นหวัดเรื้อรัง รับประทานเผ็ด ๆ แก้ไอ ขับเสมหะ เพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย

คุณค่าทางโภชนาการ

ไก่ต้มขมิ้น 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 1,424.18 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย

น้ำ 866.08 กรัม
ไขมัน 45.06 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 40.03 กรัม
โปรตีน 214.88 กรัม
กาก 4.44 กรัม
แคลเซียม 68.85 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 273.95 มิลลิกรัม
เหล็ก 5.87 มิลลิกรัม
เรตินอล 25 ไมโครกรัม
เบต้า-แคโรทีน 150 ไมโครกรัม
วิตามินเอ 282.35 IU
วิตามินบีหนึ่ง 1.32 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 2.94 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 31.12 มิลลิกรัม
วิตามินซี 56.15 มิลลิกรัม
(ไม่สามารถคำนวณหาคุณค่าทางโภชนาการของส้มแขกได้)
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=118

อาหารสมุนไพร2


” แกงส้มดอกแค แก้ไข้หัวลม ” มักจะเป็นคำพูดติดปากที่ได้ยินคุ้นหูกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งจริง ๆ แล้วแกงส้มนั้นสามารถใช้ผักต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิด เช่น แกงส้มผักกระเฉด แกงส้มผักบุ้ง แกงส้มถั่วฝักยาว เป็นต้น และแกงส้มยังมีคุณค่าด้านเป็นยาปรับสมดุลของร่างกายได้ตามหลักของการแพทย์แผนไทย

เครื่องปรุงในการทำ?

ดอกแค 2 ถ้วย
กุ้งก้ามกราม 3 ตัว หรือปลาช่อนตัวเล็ก 1 ตัว
น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำ 3 ถ้วย
วิธีทำเครื่องแก แกงส้มดอกแค

พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
หอมแดงซอย 3 หัว
กระเทียม 2 หัว
ตะไคร้ซอย 3 หัว
เกลือป่น/กะปิ 1 ช้อนชาวิธีทำ แกงส้มดอกแค
โขลกพริกแห้ง เกลือ ตะไคร้ให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกเข้ากันให้ละเอียด
ดอกแค เด็ดเกสรออก ล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ
ล้างกุ้ง ตัดกรีออก แกะเปลือกที่ตัวกุ้งออกจนถึงเปลือกข้อสุดท้าย ไว้หางผ่าหลัง ดึงเส้นดำออกหรือล้างปลาตัดเป็นท่อนเล็กๆ
ต้มน้ำให้เดือด ใส่กุ้งหรือปลาพอสุกใส่เครื่องแกงที่เตรียมไว้ คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนพอให้ทั่ว ใส่น้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำมะนาว คนให้ทั่วชิมรส พอเดือดใส่ดอกแค ยกลงตัดใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ
สรรพคุณทางยา

น้ำพริกแกงส้ม รสเผ็ดร้อน ช่วยขับลม ช่วยย่อยอาหาร
ดอกแค รสหวานออกขมเล็กน้อย แก้ไข้หัวลม
มะขามเปียก รสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ท้องผูก แก้ไอ ลดความร้อนในร่างกาย
มะนาว เปลือกผลรสขมช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
ประโยชน์ทางอาหาร
แกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม มีประโยชน์และคุณค่ามากมาย เช่น รสเปรี้ยวของแกงส้มบำรุงธาตุน้ำ รสเผ็ดของน้ำแกงบำรุงธาตุลม ดอกแคมีก้านเกสร รสขม แก้ไข้ ซึ่งการที่จะมุ่งประโยชน์ในการปรับธาตุใดนั้นให้ปรุงรสเน้นไปตามธาตุนั้น

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงส้มดอกแค 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 58 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย
น้ำ 501.4 กรัม
โปรตีน 111.9 กรัม
ไขมัน 22 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.3 กรัม
กาก 7.1 กรัม
ใยอาหาร1.1 กรัม
เถ้า 16.8 กรัม
แคลเซียม 435.3 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1,634.7 มิลลิกรัม
เหล็ก 49.2 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 1207.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 0.58 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.37 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 17.16 มิลลิกรัม

วิตามินซี 30.85 มิลลิกรัม
แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/?p=122

อาหารสมุนไพร1

เมี่ยงคำเป็นอาหารที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและรสชาติดีแต่จริงๆ แล้วเมี่ยงคำสามารถรับประทานเป็นอาหารว่างได้ตลอดทั้งปี แล้วแต่ว่าจะมุ่งรับประทานเพื่อความอร่อยหรือจะรับประทานเพื่อการดูแลสุขภาพ (การปรับสมดุลธาตุในร่างกาย) วัตุดิบในการทำเมี่ยงคำ

ใบชะพลู หรือใบทองหลาง
มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ คั่ว
หอมแดงหั่นเป็นชิ้นลูกเต๋า
ขิงหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
มะนาวหั่นทั้งเปลือกเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
พริกขี้หนูซอย
ถั่วลิสงคั่ว
กุ้งแห้ง (เลือกที่เป็นชนิดจืด)
น้ำราดเมี่ยงคำ

น้ำตาลปี๊บ 1 ถ้วย
กะปิ (เผาเพื่อเพิ่มความหอม)
น้ำปลาอย่างดี 1 ถ้วย
ข่าหั่นละอียด 1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
กุ้งแห้งโขลกละเอียด 1/4 ถ้วย
ขั้นตอนการทำ

คั่วมะพร้าว ในกระทะโดยใช้ไฟอ่อน จนได้มะพร้าวคั่วที่กรอบหอม
ทำน้ำราดเมี่ยงคำ โดยเริ่มจาก ตำโขลก ตะไคร้ ข่า หอมแดงเข้า และกะปิเข้าด้วยกันให้ละเอียด เคี่ยวจนน้ำราดเมี่ยงคำเริ่มเหนียว ยกลงแล้วใส่กุ้งแห้งคั่ว
เคี่ยวน้ำตาลปี๊บด้วยไฟปานกลาง และเติมน้ำปลาลงไป
ใส่เครื่องที่โขลกไว้ลงไป คนให้เข้ากัน
อาจเสริ์ฟเป็นคำๆ โดย ห่อเครื่องต่างๆ ด้วยใบชะพลู หรือใบทองหลาง แล้วเสียบไม้จิ้มฟันเป็นคำไว้ แล้วตักน้ำราดเมี่ยงคำใส่ถ้วยแยกไว้ต่างหาก
วิธีการจัดรับประทาน
ให้จัดใบชะพลูหรือใบทองหลางใส่จานวางเครื่องปรุงอย่างละน้อยลงบนใบชะพลู หรือใบทองหลางที่จัดเรียงไว้ตักน้ำเมี่ยงหยอดห่อเป็นคำๆ รับประทาน

สรรพคุณทางยา

มะพร้าว รสมันหวาน บำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูก
ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดิน
หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย
ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม
ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ
ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้
ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
ประโยชน์ทางอาหาร
เมี่ยงคำเป็นอาหาร ช่วยบำรุงธาตุ ปรับธาตุชั้นหนึ่งในเครื่องเมียงคำที่ประกอบด้วยใบชะพลู มะนาว บำรุงธาตุน้ำ พริก หอม บำรุงธาตุลม ขิงและเปลือกมะนาว บำรุงธาตุไฟ มะพร้าว ถั่วลิสง น้ำตาล กุ้งแห้ง บำรุงธาตุดิน เมื่อทำเมี่ยงคำเป็นอาหารว่าง ผู้รับประทานสามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของตนได้ หรือปรุงสัดส่วนตามอาการที่ไม่สบายได้อย่างเหมาะสม

คุณค่าทางโภชนาการ
เมี่ยงคำ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 659 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

โปรตีน 114 กรัม
ไขมัน 88.6 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 370.7 กรัม
กาก 9.6 กรัม
ใยอาหาร 13.4 กรัม
เถ้า 6.4 กรัม
แคลเซียม 1032 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 1679.1 มิลลิกรัม
เหล็ก 51.1 มิลลิกรัม
วิตามินเอ 4973.7 IU
วิตามินบีหนึ่ง 140.2 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 1.7 มิลลิกรัม
ไนอาซิน 35.2 มิลลิกรัม
วิตามินซี 186.4 มิลลิกรัม

แหล่งที่มา http://www.samunpri.com/food/