คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

ยาสมุนไพรสมานฉันท์

กำลังพญาเสือโคร่ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides   Buch.-Ham.ex G.Don
 ชื่อสามัญ :   Birch
 ชื่อวงศ์ :   BETULACEAE
 ชื่ออื่น :  กำลังเสือโคร่ง(เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่  ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสง

สรรพคุณ
          เปลือกต้น
           -   มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
          -   ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ
           -   ขับลมในลำไส้
           -   ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ
         

ที่มา  :  www.rspg.or.th


ม้ากระทืบโรง



ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ficus pubigera Wall
 ชื่อวงศ์  :  MORACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ  :  เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน  ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีน้ำตาล มีปุ่มขึ้นคล้ายหนาม  ดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง

สรรพคุณ
          สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
          ยาพื้นบ้านใช้ลำต้น ดองเหล้าดื่ม บำรุงกำลัง แก้เลือดเสีย เลือดค้าง ซูบซีด


ที่มา  :  www.banherbal.blogspot.com


 ช้างน้าว



ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ficus pubigera Wall
 ชื่อวงศ์  :  MORACEAE
ชื่อสามัญ  :  Ochna integerriima Merr.
 ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ  :  ภาคกลางเรียก กำลังช้างสาร ระนองเรียกกระแจะ จันทบุรีเรียก ขมิ้นพระต้น         ทางเหนือเรียกตาลเหลือง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม ปลายกิ่งมีกาบค่อนข้างแข็งปลายแหลมหุ้มตาอยู่ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-7  เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเหลืองมน ขอบใบหยักถี่ๆ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน ดอก มีช่อดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 2-8 ดอก ทยอยบาน ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวนวล รูปขอบขนาน 5 กลีบ โค้งงอไปหาปลายดอกและติดอยู่จนกระทั่งเป็นผล กลีบดอกรูปหอก มีจำนวน 5-10 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย แต่ละต้นมีดอกบานอยู่ 4-7 วัน มีกลิ่นหอมอ่อน ฤดูดอกบานอยู่ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม ส่วนใหญ่ผลัดใบก่อนแล้วออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม

สรรพคุณ
          ราก     - ขับพยาธิ

                     -แก้น้ำเหลืองเสีย


ที่มา  :  www.geocities.com


ขันทอง / ฮ่อสะพานควาย

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum Baill.
 ชื่อวงศ์ :  YMPHOREMATACEAE 
ชื่อทั่วไป : ขันทองพยาบาท 
ชื่ออื่น ๆ : กระดูก ยายปลูก ขนุนดง ขอบนางนั่ง ขัณฑสกร ช้องรำพัน สลอด น้ำขันทอง มะดูก หมายดูก ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง ดูกไทร ดูกไม เหมือดโรด ดูกหิน ดูกไหล ทุเรียนป่าไฟ ป่าช้าหมอง ยางปลอก มะดูกดง ฮ่อสะพานควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
           ไม้ยืนต้น สูง 4-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม  เป็นไม้เถากิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีขนทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่รูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติ เมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร โคนใบมนปลายแหลมขอบเรียบ ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ ก้านใบยาว 0.4-1 เซนติเมตร ดอก สีม่วงแกมเขียว ออกเป็นช่อใหญ่ ขนาด 15-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียว 6 ใบคล้ายกลีบ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลรูปขอบขนานปลายมนกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร กลีบรองดอกม้วนห่อเป็นหลอด ไม่หลุดร่วง กลีบดอกมี 5 กลีบเป็นแผ่น มีขนสีม่วงเป็นกระจุกอยู่กลางดอก ผล รูปร่างกลมขนาดเล็ก
สรรพคุณ 
          เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค  เปลือกต้น   เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน ยาถ่ายและฆ่าพยาธิฮ่อสะพานควาย รักษาโรคปวดไขข้อ
ประโยชน์ 
           ลำต้นใช้ดองเหล้าเป็นยาชูกำลัง น้ำที่เคี่ยวจากราก ใช้รักษาโรคปวดกระดูกและไขข้อ  

ที่มา :  http://www.sa-munprithai.th.gs/web-s/a-munprithai/website/Hosapan.html
             http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2544/544/907.jpg


ย่านางแดง

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia strychnifolia Craib  Tiliacora triandra Diels
 ชื่อวงศ์ :  CAESALPINIACEAE  MENISPERMACEAE
 ชื่ออื่น ๆ :  เครือขยัน ขยัน สยาน ขยาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ต้น ไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็งขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ 4-10 เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันสำหรับเกาะยึด 
           ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็กๆ 1 คู่ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนาดกว้าง 3-6 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง 
           ดอก ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว 50-100 ซม. ดอกยาว 2.5 ซม. ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก 2 ข้างของก้านช่อกลีบรองกลีบดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 5 แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี 5 กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. 
           ผล เป็นฝักแบนๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน 

สรรพคุณ 
         ใช้ภายใน บำรุงกำลัง   แก้ปวดหลังปวดเอว   ปวดเมื่อยตามร่างกาย   และถอนพิษ
          เหง้า : ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยา สำแดง ถอนพิษ และแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก วิธีทำ/วิธีใช้-ใช้ฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม
          เถาย่านางแดง :มีสรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษทั้งปวง พิษเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไขพิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เซื่องซึม ไข้สุกใส สำแดง ไข้ป่าเรื้อรัง ไขทับระดู ไข้กลับไข้ซ้ำ บำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม บำรุงธาตุ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย

ที่มา  :  http://4win.tarad.com/article?id=26170&lang=th
              http://www.pharmacy.msu.ac.th/exhibition_new/Pharma-Herb/each-html-herb/007/yaa-nang-daeng_clip_image002.jpg


ฟ้าทะลายโจร


ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Andrographis paniculata (Burm) Nees
 ชื่อวงศ์ :  ACANTHACEAE
 ชื่ออื่นๆ : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ดีปังฮี (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
            เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น
สรรพคุณ
            1.  ใช้รักษาอาการเจ็บคอ
            2.  ใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
            3.  บรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อยๆ ให้หายเร็วขึ้น
            4.  ใช้เป็นยาภายนอกเป็นยาพอกฝี รักษาแผลที่เป็นหนอง
วิธีการนำไปใช้
            1.  ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ 
            2.  ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
            3.  ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล
            ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันต่ำและมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป

ที่มา : women.sanook.com/health/herbal/herbal_43891.php - 67k –
           www.ku.ac.th/e-magazine/february45/agri/far.html - 5k -
           ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb3.htm - 14k –
          http://gotoknow.org/file/wowowo/P1010651.JPG
ฝางแดง

 ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Caesalpinia sappan Linn.
 ชื่อสามัญ  :  Sappan
 ชื่อวงศ์  :  CAESALPINIACAEA
 ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  :  ฝางแดง, ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่)
  
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  มีหนามตลอดทั้งต้นและกิ่ง  โคนหนามเป็นเต้าเล็ก ๆ  ใบประกอบ ใบย่อยเป็นใบประกอบด้วยใบย่อยเล็กเหมือนใบมะขาม  ดอกเล็กสีเหลืองเป็นช่อ  ผลเป็นฝักแบนสีเขียวเหมือนใบมีดปังตอ  เนื้อไม้เป็นสีส้มอ่อน  แก่นสีแดงออกสีส้มเข้ม  นิยมเรียกว่าฝางเสน  ให้สีแดง  เกิดตามป่าดงดิบเขา  ป่าโปร่งทั่วไป   ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
             แก่น รสฝาดเปรี้ยว  ต้มเอาน้ำดื่ม  บำรุงโลหิต  ขับฟอกโลหิต  แก้ไข้

ที่มา  :  วุฒิ  วุฒิธรรมเวช.  สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย.   
            http://www.pharmacy.msu.ac.th/exhibition_new/Pharma-Herb/each-html-herb/006/phang-deang_clip_image002.jpg
  
 แฮ่ม

 ชื่อวิทยาศาสตร์  :
 ชื่อท้องถิ่น       :  แฮ่ม, แห้ม 
ชื่อทั่วไป          :  แฮ่ม, แห้ม 
แห้ม(อ่านว่าแฮ่ม) มีมากที่ประเทศลาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             เป็นไม้ยืนต้น แห้มเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมากในแถบประเทศลาว เวียดนาม ประกอบด้วย 2 สายพันธุ์คือ
                    1. แห้ม Coscinium usitatum ไม้เถา รากและเถาสีเหลือง ใบเป็นแบบสลับ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อระหว่างใบ พบตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศลาว ส่วนที่ใช้ เถาแก่ ส่วนประกอบทางเคมี อัลคารอยด์ และเบอบีริน สรรพคุณแผนโบราณ ใช้สำหรับแก้ปวดท้องบิด แก้ไข้ ไล่ยุง และแก้ตาแดง สำหรับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่พบรายงาน
                    2. แห้ม Fibraurca recisa Pierre เป็นไม้เถา เถาแก่สีเหลือง ใบเป็นแบบสลับ ดอกสีเหลืองอมเขียว ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ส่วนที่ใช้ รากและเถา ส่วนประกอบทางเคมี อัลคารอยด์ พัลมาทิน จูโทรไรซิน คูลัมบามีน และ เบอบีรีน สรรพคุณแผนโบราณ แก้ตาอักเสบ ฝี แก้ผื่นคัน ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ โรคบิด และแก้ไข้ การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทั้งหมดเป็นสรรพคุณของแห้ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสรรพคุณแผนโบราณ จึงไม่แน่ใจถึงความปลอดภัยของการใช้ และขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้ เนื่องจากยังขาดข้อมูลการศึกษาความพิษและการศึกษาทางคลินิกอีกมาก
สรรพคุณ
             ส่วนที่เป็นยาคือเปลือกไม้ มีสีออกเหลือง นำมาต้มกับน้ำ รสชาติค่อนข้างขม  ต้นแห้มนำมาล้างแล้วตากแห้ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง, ละลายไขมัน, โรคไต, เบาหวาน, สารพิษตกค้าง
 ที่มา  :   http://medplant.mahidol.ac.th/user/qa.asp
              http://mayherb.tarad.com/product.detail.php?id=1581028 - 63k - 
              http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/230

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น