คลังบทความของบล็อก

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

คนสู้โรค

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบบัวบก

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของใบบัวบก
 วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ขอนำ สรรพคุณของใบบัวบก และ ประโยชน์ของใบบัวบก มาบอกเล่าสู่กันฟังค่ะ เมื่อพูดถึงใบบัวบกแล้วทุกคนมักจะนึกถึงคนอกหักใช่ไหมล่ะค่ะ เพราะเป็นที่พูดขบขันถึงการแก้ช้ำในเพราะความรัก แต่ สรรพคุณของใบบัวบก และ ประโยชน์ของใบบัวบก ในทางระบบร่างกายนั้นสามารถนำมาใช้รักษาอาการช้ำใน ร้อนใน แก้กระหายน้ำได้จริงๆ แต่ทว่า สรรพคุณของใบบัวบก และ ประโยชน์ของใบบัวบก นั้นมีมากกว่านี้อีกนะค่ะ และวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็นำเรื่อง สรรพคุณของใบบัวบก และ ประโยชน์ของใบบัวบก มาบอกเล่าเพิ่มเติมให้ได้รู้กันอีกด้วยค่ะ ฉะนั้นไม่รอช้ามาดู สรรพคุณของใบบัวบก และ ประโยชน์ของใบบัวบก ไปพร้อมกับเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) กันเลยนะค่ะ

ในขณะที่อีกมุมหนึ่งของบัวบกที่น้อยคนนักจะรู้จักนั่นคือ สรรพคุณในการบำรุงสมองไม่แพ้แปะก๊วยอันเป็นที่นิยมในกระแสโลก และมีการรณรงค์ให้ปลูกแปะก๊วยกันอย่างแพร่หลายซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่รวมทั้งหมอ ยาในทุกภาคของไทยได้สืบทอดความรู้เรื่องบัวบกจากรุ่นสู่รุ่นและนำมาใช้ในการบำรุงร่างกาย บำรุงประสาท บำรุงความจำ บำรุงสายตา บำรุงผม บำรุงเอ็น เป็นยาอายุวัฒนะ ใช้ได้ทุกเพศทุกวัยทั้งเด็ก ผู้ใหญ่และคนชรา นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้กันดีอีกว่า ชนิดของบัวบกที่มีสรรพคุณที่ดีที่สุดคือ ผักหนอกขม ซึ่งขึ้นตามธรรมชาติพบเห็นโดยทั่วไป


สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบบัวบก
 ในตำราไทยกล่าวว่า บัวบกมีรสเฝื่อน ขม เย็น เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ท้องเสียหรือบิด แก้ลม แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ นอกจากนี้ยังมีผู้รจนาสรรพคุณของบัวบกว่า "กิน 1 เดือน โรคร้ายหายสิ้นมีปัญญา กิน 2 เดือน บริบูรณ์น่ารักมีเสน่ห์ กิน 3 เดือน ริดสีดวงสิบจำพวกหายสิ้น กิน 4 เดือน ลมสิบจำพวกหายสิ้น กิน 5 เดือน โรคร้ายในกายทุเลา กิน 6 เดือน ไม่รู้จักเมื่อยขบ กิน 7 เดือน ผิวกายจะสวยงาม กิน 8 เดือน ร่างกายสมบูรณ์เสียงเพราะ.."

 จากงานศึกษาวิจัยพบว่า บัวบกมีฤทธิ์เช่นเดียวกับแปะก๊วยในการบำรุงสมอง กล่าวคือ เพิ่มความสามารถความจำและการเรียนรู้ มีการจดสิทธิบัตรสารสกัดในบัวบกด้านคุณสมบัติช่วยเพิ่มความสามารถในการจำ นอกจากนี้ยังมีการทดลองในสัตว์ด้วย ซึ่งพบว่า บัวบกทำให้ลูกหนูมีความจำและความสามารถในการเรียนรู้ดีขึ้น ทำให้เซลล์สมองของหนูแรกเกิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความฉลาด ส่วน hippocampal CA3 และแขนงนำสัญญาณประสาทของสมองส่วนที่เรียกว่า อมิกดาลา (amygdala) ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมเหตุผลและอารมณ์ มีการพัฒนาการที่ดีกว่าหนูในกลุ่มควบคุม ทำให้ปฏิภาณไหวพริบในการหลบหลีกสิ่งกีดขวางของหนูดีขึ้น ตลอดจนยังเพิ่มสมาธิและความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้าในหนูได้อีกด้วย

 ส่วนการศึกษาในมนุษย์พบว่า เด็กปัญญาอ่อนที่กินบัวบกวันละ 500 มิลลิกรัมติดต่อกันสามเดือนมีความสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม ส่วนการศึกษาในระดับเซลล์ถึงกลไกการออกฤทธิ์บำรุงสมองพบว่า บัวบกทำให้การหายใจในระดับเซลล์ของสมองดีขึ้น ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเสื่อมของเซลล์สมอง คงสภาพปริมาณของสารสื่อประสาท acetylcholine ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของสมอง เสริมฤทธิ์การทำงานของสาร GABA ซึ่งเป็นสารสื่อประสาททำหน้าที่รักษาสมดุลของจิตใจทำให้ผ่อนคลายและหลับได้ง่าย นอกจากนี้บัวบกยังทำให้หลอดเลือดมีความแข็งแรงและสามารถนำเลือดไปเลี้ยงในอวัยวะต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นต้น

 จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ทำให้บัวบกมีแนวโน้มจะใช้เป็นอาหารเพิ่มไอคิว เพิ่มความฉลาด เพิ่มความสามารถในการจำและการเรียนรู้ในเด็ก โดยเฉพาะในเด็กปัญญาอ่อนรวมไปถึงการใช้ในเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากบัวบกทำให้สารในสมองมีความสมดุล คือ มีความสงบผ่อนคลาย และการเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองทำให้เกิดความสามารถในเรียนรู้ได้ดีขึ้น ส่วนในคนทั่วไปบัวบกจะช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในวัยชราหรืออัลไซเมอร์รวมทั้งช่วยคลายเครียด ทำให้มีสมาธิในการทำงานอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลสมุนไพรไทยจาก ไทยโพสต์ ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของใบบัวบก

ประโยชน์ของชาสมุนไพร

ชาเเป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่ได้รับความสนใจจากผู้คนจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะชาสมุนไพร เพราะฉะนั้นวันนี้เราก็เลยได้นำเอาสรรพคุณของชาสมุนไพรและประโยชน์ของชาสมุนไพรมาบอกให้ได้รู้กันเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ แค่ได้ยินว่าสมุนไพรหลายๆ คนก็คงจะนึกถึงสาระพัดประโยชน์ดีๆ ต่างๆ มากมายนับไม่ถ้วนจากที่เคยได้ยินมาและยิ่งนำมารวมกับชาที่หลายๆ คนก็รู้ว่าเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์พอสมควรแล้วหล่ะก็ สรรพคุณของชาสมุนไพรและประโยชน์ของชาสมุนไพรจึงมีมากมายจนเชื่อว่าหลายๆ คนนึกไม่ถึงเลยทีเดียวเชียว เพราะอย่างนั้นไงค่ะเราถึงได้หยิบยกเอาเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่หลายๆ คนควรรู้เกี่ยวกับ สรรพคุณของชาสมุนไพรและประโยชน์ของชาสมุนไพรมาบอกให้ได้รู้กันค่ะ โดยเฉพาะใครที่เป็นคนรักและใส่ใจในสุขภาพด้วยแล้วเกร็ดเรื่องดีๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาสมุนไพรและประโยชน์ของชาสมุนไพรคงเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่ารู้ดีๆ ที่คุณผู้รักสุขภาพไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด ถ้าอย่างนั้นเราก็เข้าไปดูสรรพคุณของชาสมุนไพรและประโยชน์ของชาสมุนไพรกันเลยดีกว่าค่ะ

สรรพคุณ / ประโยชน์ของชาสมุนไพร

- ชาเปปเปอร์มินต์
 เพียงแค่กลิ่นหอมๆ เย็นชื่นใจของชามินต์ก็ช่วยลดความเครียดจากการทำงานได้แล้ว ขณะเดียวกันมันช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ ทำให้นอนหลับง่าย แถมยังทำให้ระบบขับถ่ายทำงานอย่างปกติ เนื่องจากมินต์มีส่วนช่วยให้ไขมันในระบบย่อยอาหารสลายตัว ป้องกันไม่ให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร และด้วยความที่มันดีต่อกระเพาะของเรา มันจึงเหมาะสำหรับคนที่เมารถเมาเรือ นอกจากนี้มันมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอ่อนๆ จึงช่วยระงับกลิ่นปากได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



- ชาตะไคร้
 เราใช้ตะไคร้ในการทำกับข้าวมานานแล้วและชาตะไคร้นั้นก็เป็นหนึ่งในตำรับโบราณที่ใช้รักษาอาการแน่นหน้าอก ไอ หรือหวัด หากเหยาะพริกไทยลงไปสักนิดอาจช่วยลดอาการปวดท้องประจำเดือนและคลื่นเหียน แถมเคยมีการศึกษาชี้ว่าการดื่มชาตะไคร้ทุกวันจะช่วยรักษาผิวหนังให้ปราศจากสิวด้วย แต่มีข้อควรระวังคือ ห้ามดื่มในระหว่างตั้งครรภ์เด็ดขาดและไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน



- ชาโสม
 ไม่ว่าจะเป็นโสมเอเชียหรือโสมอเมริกาต่างก็มีสารอาหารมากมาย ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ และวิตามินบีชนิดต่างๆ ซึ่งทาง University of Maryland Medical Center ชี้ว่าโสมเป็นสมุนไพรที่เชื่อกันว่า จะช่วยให้เราสู้กับความเครียดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภทสอง เพิ่มเซลล์ภูมิคุ้มกันลดคอเลสเตอรอลเลว (LDL) และสาร Ginsenosides ซึ่งพบในโสมนั้นยังมีคุณสมบัติ ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็งด้วย




- ชาผลกุหลาบ
 หลายคนอาจจะรู้จักผลกุหลาบในชื่อของโรสฮิปซึ่งมักจะใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย แต่ชาผลกุหลาบก็มีสรรพคุณดีๆ มากมาย เริ่มตั้งแต่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระอย่างวิตามินซีซึ่งสำคัญต่อการสมานแผล เสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรงและเซลล์ภูมิคุ้มกัน ด้วยเหตุเดียวกันนี้มันจึงช่วยลดอาการข้ออักเสบด้วย ท้ายสุดนี้การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Planta Medica ในปี 1992 ยังชี้ว่าชาผลกุหลาบอาจช่วยป้องกันนิ่วในไตได้ แม้ว่าจะไม่ได้มีฤทธิ์ขับปัสสาวะก็ตาม



- ชาใบหม่อน
 มีอีกชื่อเก๋ๆ ว่า ชามัลเบอร์รี่ ชาใบหม่อนก็เป็นที่รู้จักกว้างขวางในฐานะเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพจากญี่ปุ่นที่อาจจะช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้ เนื่องจากเชื่อกันว่ามันสามารถลดการดูดซึมน้ำตาลโดยใบหม่อนนั้นมีทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และแคลเซียม จึงช่วยบำรุงร่างกายเราได้ในแง่ของกระดูก ผมเล็บ แถมยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นกุญแจสำคัญให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้นอีกด้วย



Tip
 อย่าเพิ่งทิ้งถุงชาให้นำถุงชาที่ใช้แล้วแช่น้ำและนำไปแช่แข็งแล้วนำมาประคบเวลาแมลงกัดต่อยหรือมีแผลเล็กๆ และยังช่วยบรรเทาความเหนื่อยล้าที่ดวงตาได้ดีนัก

ขอขอบคุณข้อมูลสมุนไพรไทยจาก lisa ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของชาสมุนไพร

สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน

สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน "ตัวช่วยให้หายปวดท้อง"
 วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) มีสมุนไพรแก้ปวดประจำเดือนมาฝากกันค่ะ ซึ่ง สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน นี้เป็นสมุนไพรใกล้ตัวสาวๆ อย่างที่เราไม่ควรพลาดเลยนะค่ะ อาการปวดท้องประจำเดือนคืออีกหนึ่งปัญหาที่สุดแสนจะทรมานสำหรับสาวๆ จำนวนมากเลยทีเดียวนะค่ะ ถ้าใครที่เคยมีอาการปวดท้องประจำเดือนจะรู้ทันทีเลยว่าอาการเหล่านี้มันทรมานขนาดไหน แล้วทุกๆ เดือนของสาวๆ อย่างเราๆ จะต้องมาทนทรมานกับการปวดท้องคงจะไม่ไหวแน่ๆ วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็เลยนำเอา สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน มาแนะนำให้คุณสาวๆ ได้รู้กันค่ะ สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน เป็นสมุนไพรที่ไม่เป็นอันตรายและแถมยังไม่แพงมากมายและหาซึ่งได้ง่ายๆ เพราะ สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน นั้นมีใกล้ตัวเราอีกด้วยนะค่ะ รับรองว่า สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน นี้จะช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือนของคุณสาวๆ ได้เป็นอย่างดีแน่นอนค่ะ ถ้าอย่างนั้นอย่าร้อช้ารีบๆ ไปรู้จัก สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน ไปพร้อมๆ กับเอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) กันเลยดีกว่านะค่ะ




3 สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน

1. ตังกุย
 มีผลช่วยในการดูแลสุขภาพของมดลูกผู้หญิงเราโดยตรงทีเดียว เพราะอุดมไปด้วยวิตามินบี 12 และมีกรดโฟลิกสูงซึ่งช่วยบำรุงเลือดได้อย่างดี ถ้าหากทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการปวดท้อง ช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ และช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนของผู้หญิงได้อีกด้วย


2. ใบตำลึง
 มีแมกนีเซียมและธาตุเหล็กที่ช่วยไม่ปวดเกร็งกล้ามเนื้อหรือลดอาการตะคริว จึงมีส่วนช่วยในการลดอาการปวดเกร็งช่วงท้องได้ด้วย นอกจากนี้แมกนีเซียมยังพบได้อีกในเนื้อสัตว์ และตับหมู


3. น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส
 ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสจะมีกรดไขมันที่ชื่อว่า กรดแกมม่า ไลโนเลนิก ซึ่งมีคุณสมบัติลดหรือต้านการอักเสบ ช่วยรักษาระดับฮอร์โมนในร่างกายของผู้หญิง แถมยังช่วยลดอาการปวดเกร็งท้อง ลดการปวดหน้าอก และอาการตัวบวมช่วงก่อนหรือช่วงมีประจำเดือนได้


ขอขอบคุณข้อมูลสมุนไพรไทยจาก womansstory ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/สมุนไพรแก้ปวดประจำเดือน

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ
 วันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ขอแนะนำ สรรพคุณของกระเจี๊ยบมอญ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ สมุนไพรไทยพื้นบ้านของเราซึ่งต้องยอมรับเลยว่ามีเยอะแยะมากมาย และที่สำคัญก็มีประโยชน์ใช้รักษาโรคได้สารพัด และวันนี้เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ก็นำเอาอีกหนึ่งความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรไทยพื้นบ้านมาฝากกันกับ สรรพคุณของกระเจี๊ยบมอญ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ มาฝากกันค่ะ หลายๆ คนอาจจะรู้จักกระเจี๊ยบมอญในนามของพืชผักสีเขียวทีนำมากินแกล้มกับน้ำพริก แต่จะบอกว่ากระเจี๊ยบมอญไม่ได้มีประโยชน์ในนามของผักสีเขียวเท่านั้น เชื่อว่าคงมีอีกหลายๆ คนที่อยากจะรู้แล้วว่า สรรพคุณของกระเจี๊ยบมอญ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ นี้มีอะไรบ้าง และมี สรรพคุณของกระเจี๊ยบมอญ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ จะมีมากขนาดไหน เอ็นทรีเคดอทไอเอ็นดอททีเอช (N3K.IN.TH) ไม่ให้คุณสงสัยนานหรอกนะค่ะ ถ้าพร้อมแล้ววันนี้ไปทำความรู้จักกับ สรรพคุณของกระเจี๊ยบมอญ และ ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ อีกหนึ่งสมุนไพรไทยพื้นบ้านอีกหนึ่งชนิดที่น่ารู้กันเลยดีกว่านะค่ะ รับรองว่ามีมากมายจนคุณนึกไม่ถึงแน่นอนค่ะ





สรรพคุณ / ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ


- นอกจากนี้หากนำฝักของกระเจี๊ยบมอญไปตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดกินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ หลังอาหารแล้วดื่มน้ำตามก็จะช่วยลดอาการของแผลในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลสมุนไพรไทยจาก womanplus ขอขอบคุณรูปภาพจากอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของกระเจี๊ยบมอญ

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะตูม

สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะตูม
 เชื่อไหมค่ะว่าสรรพคุณของมะตูมและประโยชน์ของมะตูมนี้มีมากมายจนหลายๆ คนนึกไม่ถึงเลยทีเดียวค่ะ มะตูมเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่หลายๆ คนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม นั้นมีมากมายเพียงใด เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะเคยกินน้ำมัตูมกันมาบ้างอย่างแน่นอน เพราะน้ำมะตูนนั้นจะมีกลิ่นหอม ดื่มแล้วจะทำให้ชุมคอแก้กระหายได้เป็นอย่างดี และนอกจากนั้นมะตูมยังเป็นอีกหนึ่งสมุนไพรไทยที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านดั้งเดิมที่ไม่เคยจางหาย แต่ทว่า สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม ยังคงไม่หมดแต่เพียงเท่านั้นนะค่ะ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราไปดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม กันเลยดีกว่านะค่ะว่าจะมีมากมายสักแค่ไหน เพียงแค่คุณรู้วิธีและนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์รับรองว่าคุณจะมองเห็นสรรพคุณต่างๆ มากมายของสมุนไพรไทยใกล้ตัวจนอาจจะไม่ต้องเสียค่ายารักษาที่แพงๆ เลยก็ได้และแถมไม่มีพิษภัยตกค้างกับร่างกายเราอีกด้วย ว่าาแล้วเราก็มาดู สรรพคุณของมะตูม และ ประโยชน์ของมะตูม กันเลยดีกว่าค่ะ





สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะตูม
 ผลโตเต็มที่ - ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก

 ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก - น้ำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม

 ผลสุก - รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ

 ใบ - ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น

 ราก - แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต



วิธีและปริมาณที่ใช้
 ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานตากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชา หรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

ขอขอบคุณข้อมูลจาก rspg.or.th ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
แหล่งที่มา    http://www.n3k.in.th/สมุนไพร/ประโยชน์ของมะตูม

การบำบัดโรคด้วยสมุนไพรไทย

การบำบัดรักษาโรคด้วยสมุนไพรไทย



         ในประเทศไทย ผู้คนนิยมใช้สมุนไพรบำบัดรักษาโรคมายาวนาน เช่นเดียวกับวัฒนธรรมในแขนงอื่นๆ ของชาติ โดยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ การใช้สมุนไพรในการบำบัดรักษาโรคของไทย มีพื้นฐานมาจากวิชาอายุรเวชของอินเดีย และถูกถ่ายทอดสู่สังคมไทยโดยพระภิกษุสงฆ์ผู้จาจิกแสวงบุญ และได้รับการฝึกฝนด้านการบำบัดรักษาโรค เนื่องจากความรู้ในเรื่องนี้ถูกสืบทอดโดยพระภิกษุซึ่งทำหน้าที่สั่งสอนธรรมะแก่ฆราวาส ดังนั้น แหล่งรวบรวมภูมิปัญญาด้านนี้จึงมักจะอยู่วัด ซึ่งกลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และการบำบัดรักษา มาตราบเท่าทุกวันนี้
          นอกเหนือจากอิทธิพลของอายุรเวชศาสตร์ ยังมีประเพณีการรักษาโรคของชาวบ้าน โดยอาศัยยาและสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่ง เกี่ยวข้องกับความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ และดาราศาสตร์ เนื่องจากพระภิกษุเองก็เป็นชาวบ้าน การบำบัดรักษาโรคบางอย่างจึงเข้าไปเกี่ยวเนื่องกับคำสอนในวัดด้วย นอกจากนี้ ประเพณีที่เกี่ยวกับหมอตำแยก็ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยสตรีจำนวนมากได้รับการฝึกฝนในด้านการดูแลสตรีหลังคลอดโดยใช้สมุนไพรและยาพื้นบ้าน เนื่องจากตามหลักพระพุทธศาสนา ห้ามพระภิกษุสงฆ์สัมผัสหรือแตะเนื้อต้องตัวสตรี แต่ละหมู่บ้าน มีหมอยาพื้นบ้านผู้ทำหน้าที่บำบัดรักษาโรคต่างๆ โดยผนวกพื้นฐานความรู้ด้านสมุนไพรเชื่อมโยงกับความรู้ทางศาสนา การรักษาโดยใช้สมุนไพรเป็นแนวทางที่ยึดถือปฏิบัติกันมา โดยผสมผสานกับความเชื่อด้านไสยศาสตร์ เช่น พิธีกรรมและการบวงสรวง ซึ่งต้องใช้พืชพันธุ์ไม้หรือดอกไม้บางชนิด ซึ่งผู้ทำพิธีเชื่อว่า การบำบัดรักษาด้วยสมุนไพรนั้น คนไข้จะต้องมีความศรัทธาเชื่อถือในเรื่องพลังอำนาจของธรรมชาติและจักรวาล รวมทั้งความสามารถในการนำพลังและประสิทธิภาพของสมุนไพรและธาตุแต่ละชนิดมาใช้เพื่อบำบัดรักษา การบำบัดรักษามักจะถูกเก็บเป็นความลับภายในครอบครัว และมีเพียงการบอกเล่าต่อๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถึงกระนั้น บางครอบครัวที่อยู่ในแต่ละท้องถิ่น ก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้เชี่ยวชาญการบำบัดรักษาโรคบางอย่าง
          ในการรักษาโรคโดยใช้สมุนไพรนั้น ขึ้นอยู่กับหลากหลายความเชื่อและกฎเกณฑ์ต่างๆ เช่น มีกฎในการเก็บพืชผักสมุนไพร ว่าจะต้องเก็บในเวลาใด สถานที่ใด อาทิเช่น ดอกไม้ เช่น มะลิ ควรจะเก็บในเวลากลางคืน เนื่องจากเชื่อว่าจะมีพลังมากกว่าในเวลากลางวัน และเป็นที่รู้กันดีในหมู่หมอยาสมุนไพรว่า พืชพันธุ์ไม้เหล่านี้จะมีคุณภาพต่างกันตามถิ่นกำเนิดของมัน ซึ่งชนิดไหนจะมีฤทธิ์ทางยาสูงสุดนั้น เป็นผลจากลักษณะของดินด้วยเช่นกัน ดังนั้น ช่วงเวลาและวันที่ที่จะเก็บสมุนไพรจึงเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง วันเพ็ญ เมื่อพระจันทร์เต็มดวง ถือว่าเป็นเวลาดีที่สุด เพราะพลังของโลก ดวงจันทร์ และพระอาทิตย์ ในช่วงเวลานี้จะมีมากสูงสุด
          ถึงแม้ยาสมุนไพรพื้นบ้าน จะกลายเป็นสิ่งล้าสมัยในช่วงศตวรรษที่ 20 เนื่องจากได้รับอิทธิพลของแพทย์ตะวันตกเข้ามา แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่มิได้สูญสลายไปเสียทั้งหมด เพราะในปัจจุบัน เมื่อธุรกิจด้านสปากำลังได้รับความนิยมอย่างสูง วิชาการด้านการใช้สมุนไพรพื้นบ้านของไทยก็กลับฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และกลายเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของประเทศไทย ในยามที่กระแสความนิยมเครื่องสำอางที่ผลิตด้วยสารเคมีกำลังอ่อนกำลังลงในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับการรักษาด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยมากขึ้น อีกทั้งยังมีโรงพยาบาลหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลพระยาอภัยภูเบศรว์ ในจังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านผลิตผลิตภัณฑ์และเครื่องสำอางที่ใช้สมุนไพรไทยหลายชนิด จนได้รับความนิยมอย่างสูงจากลูกค้าชาวไทยทุกระดับ
        ศาสตร์การนวดแผนไทยที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล กำลังกลายเป็นวิถีทางแห่งการบำบัดรักษาที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ทั้งในสังคมไทยและแม้บรรดาชาวต่างชาติที่มีโอกาสได้ทดลองใช้บริการ การใช้ความร้อน ผสมผสานกับสรรพคุณของสมุนไพรหลายชนิด กลายเป็นกรรมวิธีการบำบัดรักษาที่มีประสิทธิภาพ และหนึ่งในกรรมวิธีดังกล่าว คือ การอบสมุนไพรแบบไทย ซึ่งความสำคัญหรือประสิทธิภาพของการบำบัดด้วยวิธีนี้ คือ สูตรการใช้สมุนไพรหลายชนิด อาทิเช่น ขมิ้น ไพล ตะไคร้ การบูร และ มะกรูด นอกจากการบำรุงสุขภาพโดยทั่วไปและการรักษาผิวพรรณแล้ว การอบสมุนไพรแบบไทย ยังถือเป็นกรรมวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลชงัดอีกอย่างหนึ่ง หากมีการรักษาอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งทฤษฎีการบำบัดรักษาแผนโบราณของไทยนั้น มีการใช้ลูกประคบ ซึ่งเป็นการนำสมุนไพรชนิดต่างๆ มารวมใส่ในห่อผ้าขาว แล้วมัดให้เป็นก้อนกลม จากนั้นนำไปนึ่งให้ร้อน แล้วกดทับไปตามจุดต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะในบริเวณหลังที่แข็งเกร็ง หรือข้อต่อส่วนต่างๆ เพื่ออาศัยความร้อนของลูกประคบผนวกกับสรรพคุณของสมุนไพรที่อยู่ในลูกประคบนั้น ช่วยบำบัดอาการปวดเมื่อยหรือการเจ็บปวดเฉพาะที่
        นอกจากนี้ ยังมีการบำบัดรักษาสตรีหลังคลอด ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่หมอตำแยหรือแพทย์แผนไทยใช้รักษาคนไข้หลังการคลอดบุตร และปัจจุบันร้านสปาหลายแห่งก็ได้นำกรรมวิธีดังกล่าวมาใช้บริการลูกค้าเช่นกัน โดยเฉพาะสตรีหลังคลอดบุตร การบำบัดรักษาด้วยวิธีนี้ นับเป็นการขับพิษและเลือดลมเสียที่คั่งค้างอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ให้ออกไปให้หมด และสร้างสมดุลแก่สุขภาพร่างกายหลังการคลอดยังไม่มีทฤษฎีที่ตายตัวสำหรับการดูแลรักษาสตรีขณะตั้งครรภ์ นอกจากมีคำแนะนำเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร เพื่อมิให้เป็นอันตรายแก่บุตรในครรภ์ ตัวอย่างเช่น เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาว่า สตรีที่กำลังมีครรภ์ ไม่ควรกินอาหารประเภทหน่อไม้ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และอาหารหมักดอง หลังอายุครรภ์เกินสามเดือน ส่วนน้ำแกงที่ปรุงด้วยสมุนไพร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใบตำลึง เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มปริมาณและคุณค่าทางโภชนาการในน้ำนมสำหรับว่าที่คุณแม่ทั้งหลาย ระหว่างตั้งครรภ์ มีเทคนิคการนวดหลัง ก้นกบ และขา เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และอาการปวดเมื่อย เนื่องจากแบกน้ำหนักเพิ่มขึ้น
         ทฤษฎีการบำบัดรักษาหลังคลอด เรียกว่า “อยู่ไฟ” ซึ่งมีความหมายว่า “การนอนอยู่บนไฟ” เป็นที่รู้จักของสตรีไทยมาแต่โบราณกาล การใช้ไฟหรือความร้อนในการบำบัดดังกล่าว มีวิธีปฏิบัติ คือ การใช้อิฐเผาไฟให้ร้อนห่อด้วยผ้าและสมุนไพร แล้วอังหรือวางบนหน้าท้องของสตรีที่เพิ่งคลอดบุตร รวมทั้งใต้แคร่ที่นอน ก็มีเตาเผาอิฐตั้งอยู่ เพื่อให้ความร้อนทางด้านหลังของร่างกายคนไข้ด้วยเช่นกัน เชื่อกันว่า ความร้อนและสมุนไพรจะช่วยทำให้แผลบริเวณช่องคลอดที่ฉีกขาดจากการคลอด สามารถเชื่อมติดกันและแห้งหายเป็นปกติได้เร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังเป็นการขับน้ำคาวปลาหรือเลือดเสียที่คั่งค้างให้ไหลออกจากร่างกาย ทำให้มดลูกแห้ง สะอาดและหดตัวสู่สภาวะปกติได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อให้การบำบัดรักษาได้ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น สตรีหลังคลอดจะต้องถูกบำบัดรักษาให้ครบสูตร คือ การอยู่ไฟ การนวดประคบ และการเข้ากระโจมเพื่ออบรมด้วยสมุนไพร เป็นประจำทุกวัน ซึ่งรวมทั้งหมดใช้เวลานานราวหนึ่งสัปดาห์หลังคลอด หมอตำแยผู้เชี่ยวชาญการทำคลอดกล่าวว่า การบำบัดรักษาด้วยการเข้ากระโจมหรือประคบด้วยสมุนไพร ติดต่อกันนานหกเดือน หรือสองปีหลังคลอด จะช่วยให้ร่างกายเข้าสู่สมดุล รูปร่างกลับสู่สภาวะปกติ และช่วยลดน้ำหนักได้ดี
         การบำบัดรักษาด้วยการใช้ความร้อนอีกวิธีหนึ่ง คือ การนึ่งหม้อเกลือ ซึ่งเป็นวิธีเก่าแก่โบราณกาล การนึ่งหม้อเกลือในปัจจุบัน มีผู้ใช้น้อยมาก เนื่องจากหาคนมีความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับการบำบัดด้วยวิธีนี้ได้ยากยิ่ง นับว่าโชคดีที่กระทรวงสาธารณสุข ได้พยายามที่จะรื้อฟื้นเทคนิคการรักษาวิธีดังกล่าว โดยการผนวกในหลักสูตรการแพทย์แผนไทย
         แม้จะเรียกว่า การนึ่งหม้อเกลือ แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้ใช้หม้อ หากใช้สมุนไพรบางชนิดที่มีสรรพคุณสูงในการบำบัดรักษา สมุนไพรหลักที่ใช้ มีลักษณะเป็นหัว เรียกว่า “ว่านชักมดลูก” ซึ่งช่วยรักษามดลูก สมุนไพรอื่นๆ ที่ใช้ประกอบ ได้แก่ ไพล ขมิ้น และใบหนาด แต่หมอตำแยบางคนก็มีสูตรการใช้สมุนไพรอี่นๆ ควบคู่ไปด้วย ตามความรู้ที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ
         วิธีบำบัดรักษาด้วยการใช้สมุนไพร ยังคงใช้กันอยู่ในชนบท ตราบเท่าทุกวันนี้ โดยสถานที่ใช้รักษาพยาบาล คือ วัดและภายในหมู่บ้าน ซึ่งน่าขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยจรรโลงรักษาคุณค่าของศาสตร์แผนไทยดังกล่าวไว้ให้ดำรงคงอยู่ตราบเท่าถึงปัจจุบัน เพื่อแสดงถึงความร่ำรวยทางวัฒนธรรมและจารีตประเพณีอันเป็นสมบัติล้ำค่าของชาติ และยิ่งเป็นที่น่ายินดี ที่ความรู้เหล่านี้ กำลังได้รับการรื้อฟื้นเพื่อกลับคืนมาให้รักษาสืบทอดต่อไปในอนาคต ดังเช่น ที่ร้านสปาไทยหลายแห่งได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สมุนไพรเพื่อการผลิตเวชสำอาง ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมทั้งสำหรับชาวไทยและต่างชาติในปัจจุ


ที่มา : http://203.172.204.162/intranet/1026_royalfloraexpo/www.royalfloraexpo.com/thai/Thai_Flora_Thai_Ways/thai_herbal.html


สมุนไพรบำบัด

สมุนไพร : บำบัดโรค


          ถ้าจะกล่าวว่า พืชสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทยก็คงไม่แปลก เพราะทั้งอาหารที่บริโภคก็มีส่วนประกอบของพืชสมุนไพร ซึ่งทั้งอร่อยและบำบัดโรค รวมถึงน้ำดื่มดับกระหายคลายร้อนหรือชาสมุนไพรที่เคยดื่มเคยจิบกันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยมีทั้งเก็กฮวย ตะไคร้ กระเจี๊ยบ ใช้ดื่มดับกระหาย โดยไม่รู้ว่านอกจากรสชาติที่อร่อยชื่นใจแล้ว ยังกำนัลด้วยประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ด้วยวันและเวลาผ่านไป ใครหลายคนคงลืมน้ำสมุนไพรเหล่านี้ไปแล้วลองย้อนวันเวลากลับไปทบทวนความรู้สึกเมื่อครั้งวัยเยาว์ที่ได้ดื่มน้ำสมุนไพรหรือน้ำชาเหล่านี้ ว่าทำให้เรามีแรงกระโดดโลดเต้นได้มากมายเพียงใด


ความหมายของสมุนไพร

           สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ "พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น

          สมุนไพรออกได้เป็น ๓ กลุ่ม เพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๑ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นอาหาร ถ้าเป็นสมุนไพรที่เป็นอาหาร อย่างนี้นักธรรมชาติบำบัดสอนให้คนนำมากินอาหารได้ กินสมุนไพรแล้วต้านโรคอย่างนี้ เราสอนกันได้
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๒ เรียกว่า สมุนไพรที่เป็นยา หมายความว่าเป็นสมุนไพรที่โดยปกติคนไม่เอามารับประทานเป็นอาหาร แต่ใช้เพื่อเป็นยาโดยเฉพาะ เช่น ฟ้าทะลายโจร เวลาพูดเรื่องฟ้าทะลายโจร ต้องบอกว่านี่มันเป็นงานของเภสัชกร และของแพทย์ เราไม่ควรไปรู้จักมันเลยจะดีกว่า นอกจากว่าเวลาเจ็บป่วย แล้วให้ท่านเหล่านั้นเป็นผู้แนะนำเรา
                  พวกสมุนไพรที่เป็นสารอาหาร กินผิดกินถูกไม่เป็นอันตราย แต่ถ้ากินถูกก็ได้กำไร สมุนไพรกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นยา ยังไม่ใช่เป็นยาอันตราย นักธรรมชาติบำบัดจะไม่ไปยุ่งกับเรื่องนั้น ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้มีความรู้เฉพาะทางคือแพทย์และเภสัชกรเท่านั้น
                  สมุนไพรกลุ่มที่ ๓ เรียกว่าสมุนไพรที่เป็นยาพิษ ที่จริงพวกนี้ก็เป็นสมุนไพร ถ้าว่ากินตามหลักของหมอชีวกโกมารภัจ ท่านอาจารย์หมอในสมัยพุทธกาล พวกสารหนู กำมะถัน มันเป็นสมุนไพรที่เป็นยาพิษ แต่ว่าแพทย์หรือเภสัชกรสามารถเอาไปทำยาได้ สารหนูก็เหมือนกัน ที่จริงสารหนูมันคือยาพิษกินเข้าไปตายแน่นอน แต่มันไปเข้าตำรับยาลม ยาแก้ลมที่เรากินกันต้องมีสารหนูมันถึงจะทรงสรรพคุณ แต่เมื่อเข้าอยู่ในตำรับยาแล้ว มันไม่เป็นพิษ แต่ต้องปรุงโดยเภสัชกรหรือแพทย์
 
 ลักษณะของพืชสมุนไพร

         "พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ
                1. ราก
                2. ลำต้น
                3. ใบ
                4. ดอก
                5. ผล
         "พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหาร มาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหารดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร
       
         1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่นกระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
            1.1  รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
            1.2 ร ากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็น
 รากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
     
      2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
           2.1  ประเภทไม้ยืนต้น
           2.2  ประเภทไม้พุ่ม
           2.3  ประเภทหญ้า
           2.4  ประเภทไม้เลื้อย
   
      3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น
          ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
                1. ตัวใบ
               2. ก้านใบ
               3. หูใบ
           ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
               1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
              2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว  มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น

     4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก
          ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
              1. ก้านดอก
              2. กลีบรอง
              3. กลีบดอก
              4. เกสรตัวผู้
              5. เกสรตัวเมีย

     5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน
         แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
             1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน
             2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
             3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด
          มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
            1. ผลเนื้อ
            2. ผลแห้งชนิดแตก
            3. ผลแห้งชนิดไม่แตก

คุณค่าจากน้ำดื่มสมุนไพร

          ดื่มเพื่อดับกระหาย ช่วยปรับธาตุและได้ทั้งสรรพคุณในการบำบัดรักษาโรคได้บางโรค ที่สำคัญราคาไม่แพง ดื่มได้ตลอดเวลา ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเพราะเกิดจากการใช้ใบ ดอก ผล เกสร เปลือก รากของพืช มาผ่านกระบวนการผลิตที่สะอาด อาจใช้วิธีการต้มดื่มเป็นน้ำสมุนไพร (ซึ่งหากเลี่ยงการใส่น้ำตาลได้จะเป็นการดี เพื่อที่จะได้รับกลิ่นของพืชได้ดีขึ้น) หรืออาจจะตากแห้งเพื่อชงเป็นชาดื่ม (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีกลิ่นหอมระเหยขณะดื่มร้อนๆ ผู้ดื่มจะสูดรับกลิ่นหอมเข้าไปด้วย ก่อให้เกิดผลทางสุคนธบำบัดแก่ร่างกาย)

ชนิดน้ำสมุนไพร ส่วนที่ใช้และวิธีทำ ประโยชน์และสรรพคุณ
     
       น้ำตะไคร้
              ใช้ตะไคร้ 3 - 5 ต้นหั่นเป็นท่อนสั้น ทุบให้แตก ใช้นำลิตรครึ่งต้มพอเดือด กระองเอากากออก แล้วต้มต่ออีกราว 3 นาที หรือใช้เหง้าแก่ฝานเป็นแว่น คั่วไฟอ่อนๆ ชงเป็นชา ตะไคร้มีวิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ดื่มแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม ลดความดันโลหิตสูง ช่วยขับเหงื่อ ลดพิษของสารแปลกปลอมในร่างกาย

        น้ำกระเจี๊ยบ
              เลือกดอกกระเจี๊ยบแดง คัดเอากลีลหนึ่งขีดครึ่งใส่ในหม้อเคลือบ เติมน้ำ 3 - 4 ลิตร ต้มนาน 30 - 40 นาที จนน้ำต้มเป็นสีแดงสดกรองเอากากออก ดื่มแก้กระหาย ให้ความสดชื่น กัดเสมหะ แก้ไอ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบายอ่อนๆ

        น้ำบัวบก
             ใช้ต้นบัวบกสด ล้างน้ำให้สะอาด ตำหรือใส่เครื่องปั่นก็ได้ เติมน้ำสุกลงไปพอประมาณ กรองกากออกจะดืมน้ำคั้นสดหรือเติมน้ำเชื่อมนิดหน่อยก็ได้ ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ มีวิตามินเอและแคลเซียมในปริมาณสูง

       น้ำเชอร์รี่
             นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียด นำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่วงไปคั้นกับกากเชอร์รี่ให้แห้งมากที่สุด นำน้ำเชอร์รี่ที่คั้นได้ ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

       น้ำฝรั่ง
            เลือกฝรั่งที่แก่จัด ล้างน้ำสะอาด ฝานเนื้อชิ้นเล็กๆนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุก ปั่นจน ละเอียดแล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเติมน้ำเชื่อมและเกลือป่นเล็กน้อย ชิมรสตามใจชอบ มีวิตามินซีสูง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันและมีสาร เบต้า-แคโรทีน ช่วยลดสารพิษในร่างกาย ทั้งยังป้องกันไม่ให้ไขมันจ้บที่ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเลือดแข็งตัว ช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วยเส้นเลือดอุดตัน

      น้ำข่า
            เอาข่าแก่ที่ตากแห้งแล้วใส่ลงไปในถ้วยกาแฟ 4-5 แว่น .เอาน้ำร้อนเดือดใส่ลงไปค่อนถ้วย ปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ซักครู่หนึ่งแล้วค่อยดื่ม ควรดื่ม 2-3 ถ้วยต่อวัน ก็ทำให้สบายท้องขึ้น หรือจะใช้ ข่าสดก็ได้ 10-12 แว่น นำมาทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่มก็ได้ ช่วยขับลมได้อย่างดี ป็นการระบายลมออกมา จากลำใส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอเปรี้ยว

      น้ำคะน้า
           นำใบคะน้าล้างให้สะอาด หั่นใส่เครื่องปั่นเติมน้ำต้มสุกครึ่งหนึ่งปั่นจนละเอียด นำมากรอง จากนั้นเติมน้ำส่วนที่เหลือลงไปเติมน้ำเชื่อม น้ำมะนาว เกลือ ชิมรสตามชอบ ให้วิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา คะน้าเป็นแหล่ง เบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านการก่อมะเร็งรองลงมามีแคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และมีวิตามินซีช่วยป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ช่วยให้เนื้อเยื่อของเราทำงานได้ดี ป้องกันโรคโลหิตจาง ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้กระหายน้ำ

 น้ำมะเฟือง
         ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

 น้ำมะขาม
         นำมะขามสดไปลวกในน้ำต้มเดือด ตักขึ้น แกะเอาแต่เนื้อมะขาม นำไปต้ม กับน้ำตาลส่วนผสมให้เดือด เติมน้ำเชื่อม เกลือชิมรสตามชอบ แต่ถ้าใช้มะขามเปียก ควรแช่น้ำไว้สัก 1/2 ชั่วโมง เพื่อให้มะขามเปียก เปื่อยยุ่ยออกมารวมกับน้ำ ก่อนนำไปต้มจนเดือดแล้วปรุงด้วยน้ำเชื่อมและเกลือ คุณค่าทางอาหาร:: มีวิตามินเอช่วยบำรุงสายตา และมีแคลเซียมช่วยบำรุงกระดูก รวมทั้งแก้กระหายน้ำ ช่วยขับเสมหะแก้ไอ เป็นยาระบายท้อง ช่วยการขับถ่ายได้ดี ลดอาการโลหิตจาง ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน

        ส่วนวิธีการดื่มที่ถูกวิธี ควรดื่มแบบจิบช้าๆ และควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยา การดื่มน้ำสมุนไพรชนิดเดียว ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดการสะสมสารบางชนิดที่มีฤทธิ์ต่อร่างกายได้
         การดื่มน้ำสมุนไพรร้อนๆ ที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซนเซียสขึ้นไปทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และอาจทำให้มีการดูดซึมสารก่อมะเร็ง,จุรินทรีย์ ฯลฯ ได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง
         1. thaihealth.or.th
         2. http://www.google.co.th/images?
         3.  http://www.oknation.net/blog/mamladda/2007/12/12/entry-        
         4. http://www.samunpri.com/modules.php?name=News&file=article&sid=118
         5. ที่มา : สำนักงานกองทุนสนับสนุนเสริมสร้างสุขภาพ
         6. http://www.aksorn.com/webguide/webguide_detail.php?content_id=727
             http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/232

ยาสมุนไพรสมานฉันท์

กำลังพญาเสือโคร่ง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Betula alnoides   Buch.-Ham.ex G.Don
 ชื่อสามัญ :   Birch
 ชื่อวงศ์ :   BETULACEAE
 ชื่ออื่น :  กำลังเสือโคร่ง(เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            เป็นไม้ยืนต้น สูง ๒๐ -๓๕ เมตร วัดรอบลำต้นประมาณ ๑-๒ เมตร เปลือกไม้(ที่ยังไม่ลอก) มีสีน้ำตาล เทา หรือ เกือบดำ มีรูระบายอากาศเป็นจัดขาวเล็กๆ กลม บ้างรีบางปะปนอยู่ เปลือกมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ที่ยอดอ่อน ก้านใบและช่อดอกมีขนสีเหลือง หรือ สีน้ำตาล ปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ แคบ ยาวประมาณ ๓-๘ มม.ใบ เป็นรูปไข่ถึงรูปไข่แกมหอก หรือรูปหอก เนื้อใบบาง คล้ายกระดาษ หรือ หนา ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม เส้นแขนงใบ ๗-๑๐ คู่  ดอก ออกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ออกตามง่ามใบแห่งละ ๒-๕ ช่อ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว ๕-๘ ซม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ปลายค่อนข้างแหลม มีขนที่ขอบเกสรเพศผู้ ๔-๗ อันติดอยู่ที่แกนกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว ๓-๙ ซม. กลีบรองดอกไม่มีก้าน มี ๓ หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่ หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ผลแก่ร่วงง่าย แบน มีปีก ๒ ข้างปีกบางและโปร่งแสง

สรรพคุณ
          เปลือกต้น
           -   มีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง กลิ่นฉุนแรงคล้ายน้ำมันระกำ แต่ถ้าทิ้งจนเปลือกแห้ง กลิ่นทำให้เส้นเอ็นแข็งแรง
          -   ช่วยชำระล้างไตให้สะอาด บำรุงกองธาตุให้เป็นปกติ
           -   ขับลมในลำไส้
           -   ใช้บำบัดอาการผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับมดลูกของผู้หญิงไม่สมบูรณ์ มดลูกชอกช้ำ อักเสบเนื่องจากการกระทบกระเทือน แท้งบุตร มดลูกไม่แข็งแรงให้หายเป็นปกติ
         

ที่มา  :  www.rspg.or.th


ม้ากระทืบโรง



ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ficus pubigera Wall
 ชื่อวงศ์  :  MORACEAE
ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ  :  เดื่อเครือ ม้าทะลายโรง ม้าคอกแตก มันฤๅษี


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เลื้อยเกาะไปตามพรรณไม้อื่นมีน้ำยางขาว สูงถึง 25 เมตร กิ่งอ่อน ก้านใบผิวใบด้ายล่าง และฐานรองดอกอ่อนมีขน  ใบเดี่ยว เรื่องสลับ รูปใบหอก รูปไข่หรือรูปของขนานแกมวงรี กว้าง 7-9 ซม. ยาว 12-18 ซม. เปลือกสีน้ำตาล มีปุ่มขึ้นคล้ายหนาม  ดอกช่อ ลักษณะทรงกลมคล้ายผลออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่ในช่อเดี่ยวกัน ฐานรองดอกรูปทรงกลม ผลสด รูปทรงกลม ภายในสีแดง

สรรพคุณ
          สรรพคุณตามตำรายาไทย ใช้ เถา บำรุงกำลัง ต้น บำรุงร่างกาย บำรุงความกำหนัด ช่วยขับน้ำย่อย เนื้อไม้ แก้ปวดหลัง แก้ปวดหัว ทั้งต้น บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง
          ยาพื้นบ้านใช้ลำต้น ดองเหล้าดื่ม บำรุงกำลัง แก้เลือดเสีย เลือดค้าง ซูบซีด


ที่มา  :  www.banherbal.blogspot.com


 ช้างน้าว



ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Ficus pubigera Wall
 ชื่อวงศ์  :  MORACEAE
ชื่อสามัญ  :  Ochna integerriima Merr.
 ชื่อท้องถิ่นอื่นๆ  :  ภาคกลางเรียก กำลังช้างสาร ระนองเรียกกระแจะ จันทบุรีเรียก ขมิ้นพระต้น         ทางเหนือเรียกตาลเหลือง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           เป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม ปลายกิ่งมีกาบค่อนข้างแข็งปลายแหลมหุ้มตาอยู่ ใบ เป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-7  เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเหลืองมน ขอบใบหยักถี่ๆ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน ดอก มีช่อดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 2-8 ดอก ทยอยบาน ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวนวล รูปขอบขนาน 5 กลีบ โค้งงอไปหาปลายดอกและติดอยู่จนกระทั่งเป็นผล กลีบดอกรูปหอก มีจำนวน 5-10 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย แต่ละต้นมีดอกบานอยู่ 4-7 วัน มีกลิ่นหอมอ่อน ฤดูดอกบานอยู่ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม ส่วนใหญ่ผลัดใบก่อนแล้วออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม

สรรพคุณ
          ราก     - ขับพยาธิ

                     -แก้น้ำเหลืองเสีย


ที่มา  :  www.geocities.com


ขันทอง / ฮ่อสะพานควาย

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflorum Baill.
 ชื่อวงศ์ :  YMPHOREMATACEAE 
ชื่อทั่วไป : ขันทองพยาบาท 
ชื่ออื่น ๆ : กระดูก ยายปลูก ขนุนดง ขอบนางนั่ง ขัณฑสกร ช้องรำพัน สลอด น้ำขันทอง มะดูก หมายดูก ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง ดูกไทร ดูกไม เหมือดโรด ดูกหิน ดูกไหล ทุเรียนป่าไฟ ป่าช้าหมอง ยางปลอก มะดูกดง ฮ่อสะพานควาย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
           ไม้ยืนต้น สูง 4-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 3-6 ซม. ยาว 9-14 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น กลีบดอกสีนวล ผลแห้ง แตกได้ รูปกลม  เป็นไม้เถากิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม มีขนทั่วไป ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามเป็นคู่รูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 3-6 เซนติ เมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร โคนใบมนปลายแหลมขอบเรียบ ด้านล่างมีขนตามเส้นใบ ก้านใบยาว 0.4-1 เซนติเมตร ดอก สีม่วงแกมเขียว ออกเป็นช่อใหญ่ ขนาด 15-30 เซนติเมตร ดอกย่อยมีใบประดับสีเขียว 6 ใบคล้ายกลีบ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลรูปขอบขนานปลายมนกว้าง 0.5 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร กลีบรองดอกม้วนห่อเป็นหลอด ไม่หลุดร่วง กลีบดอกมี 5 กลีบเป็นแผ่น มีขนสีม่วงเป็นกระจุกอยู่กลางดอก ผล รูปร่างกลมขนาดเล็ก
สรรพคุณ 
          เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค  เปลือกต้น   เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน ยาถ่ายและฆ่าพยาธิฮ่อสะพานควาย รักษาโรคปวดไขข้อ
ประโยชน์ 
           ลำต้นใช้ดองเหล้าเป็นยาชูกำลัง น้ำที่เคี่ยวจากราก ใช้รักษาโรคปวดกระดูกและไขข้อ  

ที่มา :  http://www.sa-munprithai.th.gs/web-s/a-munprithai/website/Hosapan.html
             http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2544/544/907.jpg


ย่านางแดง

 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia strychnifolia Craib  Tiliacora triandra Diels
 ชื่อวงศ์ :  CAESALPINIACEAE  MENISPERMACEAE
 ชื่ออื่น ๆ :  เครือขยัน ขยัน สยาน ขยาน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ต้น ไม้เถาเลื้อยค่อนข้างแข็งขนาดใหญ่มีเหง้าหัวใต้ดิน เถายาวประมาณ 4-10 เมตร สีน้ำตาลเกลี้ยงพาดตามต้นไม้อื่น กิ่งแขนงแยกออกจากง่ามใบสลับกันไปเป็นระเบียบตามปลายกิ่งแขนง มีมือม้วนเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกันสำหรับเกาะยึด 
           ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับมีหูใบเล็กๆ 1 คู่ๆ ใบรูปขอบขนานหรือรูปไข่มนรี ขนาดกว้าง 3-6 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบหยักเว้าเล็กน้อย ปลายใบสอบแคบหรือแหลม ผิวใบเกลี้ยงและเป็นมันสีเขียว เส้นแขนงใบสีแดงคล้ำ ใบยอดอ่อนสีออกแดง 
           ดอก ออกเป็นช่อยาวเรียวตามปลายกิ่ง ดอกเป็นหลอดกลวงโค้งเล็กน้อย ปลายบานห้อยลงคล้ายกับดอกประทัดจีนมีจำนวนมากช่อหนึ่งยาว 50-100 ซม. ดอกยาว 2.5 ซม. ดอกลู่มาทางโคนช่อแผ่ออก 2 ข้างของก้านช่อกลีบรองกลีบดอกสีแดง โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นกรวยปลายแยกเป็นแฉกแหลมๆ 5 แฉก กลีบดอกสีแดงคล้ำมี 5 กลีบ มีขนประปรายไม่ขยายบานออกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านดอกยาวประมาณ 0.5 ซม. 
           ผล เป็นฝักแบนๆ มีขนสีน้ำตาลนุ่มคล้ายฝักฝาง สีเขียวอ่อน 

สรรพคุณ 
         ใช้ภายใน บำรุงกำลัง   แก้ปวดหลังปวดเอว   ปวดเมื่อยตามร่างกาย   และถอนพิษ
          เหง้า : ใช้กระทุ้งพิษไข้ กินพิษยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยา สำแดง ถอนพิษ และแก้พิษไข้ทั้งปวง ขับพิษโลหิตและน้ำเหลือง แก้ท้องผูก วิธีทำ/วิธีใช้-ใช้ฝนกับน้ำหรือน้ำซาวข้าวหรือต้มดื่ม
          เถาย่านางแดง :มีสรรพคุณ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้พิษทั้งปวง พิษเบื่อเมา ถอนพิษผิดสำแดง แก้ไขพิษ ไข้กาฬ ไข้หัว ไข้เซื่องซึม ไข้สุกใส สำแดง ไข้ป่าเรื้อรัง ไขทับระดู ไข้กลับไข้ซ้ำ บำรุงหัวใจ แก้โรคหัวใจบวม บำรุงธาตุ แก้ท้องผูกไม่ถ่าย

ที่มา  :  http://4win.tarad.com/article?id=26170&lang=th
              http://www.pharmacy.msu.ac.th/exhibition_new/Pharma-Herb/each-html-herb/007/yaa-nang-daeng_clip_image002.jpg


ฟ้าทะลายโจร


ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Andrographis paniculata (Burm) Nees
 ชื่อวงศ์ :  ACANTHACEAE
 ชื่ออื่นๆ : ฟ้าทะลาย, น้ำลายพังพอน, ยากันงู, ฟ้าลาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน, สามสิบดี, ดีปังฮี (จีน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
            เป็นไม้ล้มลุกสูง 1-2 ศอก ลำต้นสี่เหลี่ยมตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเรียวกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อเล็กๆ สีขาว มีรอบประสีม่วงแดง กลีบดอกด้านบนมี 3 หยัก ด้านล่างมี 2 หยัก ผลเป็นฝักคล้ายฝักต้อยติ่ง เมล็ดสีน้ำตาลอ่อน ต้นและใบมีรสขมมาก ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ ราก ใบ ทั้งต้น
สรรพคุณ
            1.  ใช้รักษาอาการเจ็บคอ
            2.  ใช้แก้อาการท้องเสีย และโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
            3.  บรรเทาอาการหวัดและเสริมภูมิต้านทาน ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นหายจากหวัด ภูมิแพ้ที่มักเป็นบ่อยๆ ให้หายเร็วขึ้น
            4.  ใช้เป็นยาภายนอกเป็นยาพอกฝี รักษาแผลที่เป็นหนอง
วิธีการนำไปใช้
            1.  ใช้ในรูปยาต้ม โดยใช้ใบและกิ่งสดล้างสะอาด สับเป็นท่อนสั้นๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้งแก้เจ็บคอ ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ใช้ 2-3 กำมือ 
            2.  ใช้ในรูปยาลูกกลอน โดยนำใบและกิ่งมาล้างให้สะอาดผึ่งลมให้แห้ง บดให้เป็นผง ปั้นผสมกับน้ำผึ้งเป็นเม็ดขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย ผึ่งให้แห้ง รับประทานครั้งละ 3-6 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
            3.  ใช้ในรูปยาแคปซูล โดยใช้ผงใบและลำต้นบรรจุลงในแคปซูล ใช้รับประทานก่อนอาหารและก่อนนอน เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีรสขมมาก จึงนิยมใช้ในรูปยาลูกกลอนและรูปยาแคปซูล ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ฟ้าทะลายโจรจำหน่ายในรูปยาแคปซูล
            ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่สำคัญคือ ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่มีความดันต่ำและมีอาการท้องอืด แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย บางคนเมื่อกินยาฟ้าทะลายโจรแล้วมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย เวียนหัว หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ซึ่งควรหยุดยาทันที ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เนื่องจากฟ้าทะลายโจรจะทำลายจุลินทรีย์ที่อยู่ในกระเพาะอาหารมากเกินไป

ที่มา : women.sanook.com/health/herbal/herbal_43891.php - 67k –
           www.ku.ac.th/e-magazine/february45/agri/far.html - 5k -
           ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb3.htm - 14k –
          http://gotoknow.org/file/wowowo/P1010651.JPG
ฝางแดง

 ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Caesalpinia sappan Linn.
 ชื่อสามัญ  :  Sappan
 ชื่อวงศ์  :  CAESALPINIACAEA
 ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ  :  ฝางแดง, ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), หนามโค้ง (แพร่)
  
 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  มีหนามตลอดทั้งต้นและกิ่ง  โคนหนามเป็นเต้าเล็ก ๆ  ใบประกอบ ใบย่อยเป็นใบประกอบด้วยใบย่อยเล็กเหมือนใบมะขาม  ดอกเล็กสีเหลืองเป็นช่อ  ผลเป็นฝักแบนสีเขียวเหมือนใบมีดปังตอ  เนื้อไม้เป็นสีส้มอ่อน  แก่นสีแดงออกสีส้มเข้ม  นิยมเรียกว่าฝางเสน  ให้สีแดง  เกิดตามป่าดงดิบเขา  ป่าโปร่งทั่วไป   ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
สรรพคุณ
             แก่น รสฝาดเปรี้ยว  ต้มเอาน้ำดื่ม  บำรุงโลหิต  ขับฟอกโลหิต  แก้ไข้

ที่มา  :  วุฒิ  วุฒิธรรมเวช.  สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย.   
            http://www.pharmacy.msu.ac.th/exhibition_new/Pharma-Herb/each-html-herb/006/phang-deang_clip_image002.jpg
  
 แฮ่ม

 ชื่อวิทยาศาสตร์  :
 ชื่อท้องถิ่น       :  แฮ่ม, แห้ม 
ชื่อทั่วไป          :  แฮ่ม, แห้ม 
แห้ม(อ่านว่าแฮ่ม) มีมากที่ประเทศลาว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             เป็นไม้ยืนต้น แห้มเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมากในแถบประเทศลาว เวียดนาม ประกอบด้วย 2 สายพันธุ์คือ
                    1. แห้ม Coscinium usitatum ไม้เถา รากและเถาสีเหลือง ใบเป็นแบบสลับ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อระหว่างใบ พบตามป่าเกือบทุกภาคของประเทศลาว ส่วนที่ใช้ เถาแก่ ส่วนประกอบทางเคมี อัลคารอยด์ และเบอบีริน สรรพคุณแผนโบราณ ใช้สำหรับแก้ปวดท้องบิด แก้ไข้ ไล่ยุง และแก้ตาแดง สำหรับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ไม่พบรายงาน
                    2. แห้ม Fibraurca recisa Pierre เป็นไม้เถา เถาแก่สีเหลือง ใบเป็นแบบสลับ ดอกสีเหลืองอมเขียว ออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ส่วนที่ใช้ รากและเถา ส่วนประกอบทางเคมี อัลคารอยด์ พัลมาทิน จูโทรไรซิน คูลัมบามีน และ เบอบีรีน สรรพคุณแผนโบราณ แก้ตาอักเสบ ฝี แก้ผื่นคัน ลำไส้อักเสบ กระเพาะอักเสบ โรคบิด และแก้ไข้ การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย ทั้งหมดเป็นสรรพคุณของแห้ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสรรพคุณแผนโบราณ จึงไม่แน่ใจถึงความปลอดภัยของการใช้ และขนาดที่เหมาะสมต่อการใช้ เนื่องจากยังขาดข้อมูลการศึกษาความพิษและการศึกษาทางคลินิกอีกมาก
สรรพคุณ
             ส่วนที่เป็นยาคือเปลือกไม้ มีสีออกเหลือง นำมาต้มกับน้ำ รสชาติค่อนข้างขม  ต้นแห้มนำมาล้างแล้วตากแห้ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง, ละลายไขมัน, โรคไต, เบาหวาน, สารพิษตกค้าง
 ที่มา  :   http://medplant.mahidol.ac.th/user/qa.asp
              http://mayherb.tarad.com/product.detail.php?id=1581028 - 63k - 
              http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/230

ยอดยากินแก้มะเร็งทุกชนิด

1.หัวร้อยรู







 ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hydnophytum formicarum Jack
 ชื่อสามัญ  :  กระเช้าฝีมด ปุมเป้า ร้อยรู
 ชื่อวงศ์   RUBIACEAE
 ชื่ออื่น  : ร้อยรู (ปัตตานี); ปุมเป้า (ตราด); ตาลิมา (มลายู – ภาคใต้); ดาลูปู; กระเช้าผีมด
 (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ลำต้น ไม้อิงอาศัย ลำต้นเป็นหัวกลมขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านชูออกมาจากหัว กิ่งเรียบมัน สีน้ำตาลเทา หัวข้างในมีรูพรุน มีมดอาศัยอยู่จำนวนมาก
           ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามและตั้งฉากกัน อยู่มากที่ปลายกิ่ง ใบรูปไข่กลับปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบ หนา
           ดอก เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ

สารออกฤทธิ์ที่พบ    Chemiebase

สรรพคุณ
           หัว – รสเมา  บำรุงหัวใจ ขับชีพจร  ขับพยาธิ แก้พิษในข้อในกระดูก  แก้พิษประดง แก้ข้อเข่าข้อเท้าบวม รักษามะเร็ง

ที่มา  :  http://www.forest.go.th/Maethahp/index1.htm


 2.ไม้สักหิน







 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cordia globifera W.W. Smith
 ชื่อวงศ์  :  EHRETIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
             ไม้สักหิน  เป็นไม้สักที่มีลักษณะเนื้อไม้ใกล้เคียงกับไม้สักขี้ควาย ซึ่งมีสีคล้ำ แต่มีความแข็งแรงมากกว่า และขึ้นอยู่ในดินที่แห้งแล้งมากกว่าพื้นดินที่มีสภาพเป็นหินทำให้ขาดแคลนอาหาร อันมีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของไม้สัก
             ใบ  เล็กกว่าปกติจะทราบได้แน่นอนเมื่อมีการโค่นล้มหรือตบแต่ง โดยพวกโค่นล้มเลื่อยและช่างไม้ เพราะเนื้อไม้จะแข็งกว่าไม้สัก ทั่วไปและเปราะสีของ
             เนื้อไม้สักเป็นสีน้ำตาลเข้ม  การแตกของเปลือกเป็นร่องลึก และเรือนยอดดูไม่ค่อยแข็งแรง
ป่าสักโดยทั่วไปแล้วจะเป็นป่าผสมผลัดใบ หรือที่เรียกว่า ป่าเบญจพรรณ โดยจะมีการผลัดใบในฤดูแล้งเจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชุ่มชี้นสูง ดินลึก มีการระบายน้ำดี ดินมีความเป็นกลางหรือด่างเล็กน้อย โดยมีค่าของเป็นกรด-ด่าง (PH) ระหว่าง 6.5-7.5 ปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และคุณภาพของเนื้อไม้อยู่ระหว่าง 1,500 มม.-1,600 มม. ต่อปี และมีฤดูแล้งสบัลกับฤดูผนที่ชัดเจน ทำให้เนี้อไม้มีลวดลายของวงปีชัดเจน และระดับความสูงของพื้นที่ 200-750 เมตร จากระดับน้ำทะเล
ไม้สักหิน  เป็นไม้ที่มีความต้องการแสงแดดมากชนิดหนึ่ง ปริมาณความเข้มของแสงสว่างที่เหมาะสม คือ 75-79% ของปริมาณแสงแดดในแต่ละวัน อุณหภูมิระหว่าง 13-40 องศาเซลเซียส

สรรพคุณ
             ราก  รสหวานสุขุม  บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ  นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ



ที่มา  :  http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=187.msg636#msg636


3. ข้าวเย็นเหนือ







 ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Premna herbacea Roxb
 ชื่อวงศ์ :  Verbenaceaev

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ข้าวเย็นเหนืออยู่คู่กับข้าวเย็นใต้ เป็นไม้เลื้อยลงหัว ไม้เถาขนาดเล็กลำต้นมีหนาม
              ใบ  คล้ายใบกลอย  รูปไข่ยาวหนา
              หัว   สีน้ำตาลอ่อนเปลือกและเนื้อในหัว สีแดง รสมันกร่อยหวานเล็กน้อย

สรรพคุณ
          ใช้หัวแก้เส้นพิการ น้ำเหลืองเสีย กามโรค ฝีเปื่อย พุพอง และต้นแก้อัมพาตแก้ประดง คุดทะราด น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรค ออกดอกเข้าข้อ ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะ

ที่มา  :  http://tonau2003.tripod.com/data_plant2.htm




4. โกศจุฬา







 ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Eupatorium capillifolium Small
 ชื่อสามัญ  :  โกศจุฬา   พิษนาด (ราชบุรี), แซไหง,
                    ไง่ เฮียะ (จีน)
 ชื่อวงศ์  :  COMPOSITAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ต้น ไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม
            ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปใบหอก ขอบหยักเว้า ลึกเป็นพู
            ดอกช่อ แยกแขนง ประกอบด้วยช่อย่อยเป็นกระจุกกลม ขนาดเล็กออกที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง มีชั้นใบประดับ กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
            ผลแห้ง ไม่แตกเมล็ด รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ผิวเกลี้ยงเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก  ต้นและใบคล้ายผักชี ดอกสีขาว ส่งมาจากอินเดีย  มีปลูกในประเทศไทยบ้าง  แต่สรรพคุณอ่อนกว่าของอินเดีย

สรรพคุณ
           ใบและช่อดอกแห้ง - ใช้แก้ไข้ที่มีผื่น เช่น หัด สุกใส แก้ไอ
           ทั้งต้น   รสสุขุมหอมร้อน  แก้ไข้เจลียง (ไข้ที่มีเม็ดผื่นตามตัว  เช่น  ไข้หัด  สุกไส ดำแดง เป็นต้น)  แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้หืด แก้ไอ แก้ไข้ จับ  เป็นยาเร่งประสาทส่วนกลางเหมือนการบูร  ขับลม  แก้ตกเลือด  ตำพอกแก้ลม แก้ช้ำใน แก้ปวดเมื่อยรูมาติก แก้บิด  แก้ปวดท้องหลังคลอด แก้ระดูมามากเกินไป
          โกฐจุฬาลัมพานั้น แก้ไข้เจลียงและแก้ผื่นพรึงขึ้นทั้งตัว เป็นเพื่อเสมหะและหืดไอนักวิทยาศาสตร์พบสารสกัดของโกฐจุฬา มีสรรพคุณบำรุงความจำและบำบัด รักษาอาการแปลกๆ ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองฝ่อ และสมองพิการอื่นๆได้

ที่มา  :  http://nu.kku.ac.th/site/gns/daynew/new47/13.htm




5. ข้าวเย็นใต้







 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Smilax glabra Wall.ex Roxb.
 ชื่อวงศ์ : SMILACACEAE
 ชื่ออื่น :  หัวยาจีนปักษ์ใต้ (ใต้); ยาหัวข้อ (เหนือ);  เตียวโถ่ฮก (จีน); ข้าวเย็นโคกขาว;

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ข้าวเย็นใต้ เป็นพืชจำพวกหัว ไม้เถาขนาดเล็ก ใบรูปหัวใจบาง มีหลายชนิด ทั้งชนิดมีหนาม ไม่มีหนาม ใบจักเว้า เนื้อในหัวสีขาว
                 ลำต้น เป็นไม้เถาลงหัว เถามีหนาม
                 ใบ โตเหมือนใบกลอย

สรรพคุณ
           หัว รสมันกร่อยหวานเล็กน้อย แก้ประดง คุดทะราด แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เส้นเอ็นพิการ แก้กามโรคเข้าข้อออกดอก ฝีแผลเน่าเปื่อยพุพอง เม็ดผื่นคัน ดับพิษในกระดูก แก้ปัสสาวะ
               
ที่มา    :  http://thaiherb.most.go.th/plantdetail.php?id=486


6. โกฐเชียง







ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Livisticum officnale Koch.
ชื่อสามัญ  :  กุยบ๊วย (จีน) Lovage      ตังกุย  (จีน)
 ชื่อวงศ์  :  UMBELLIFERAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           โกฐเชียงเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 0.4-1 เมตร รากแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนราก รากเป็นไม้พวกโสมสีน้ำตาลเหลือง รากฝอย รากทั้งหมดยาวประมาณ 2-4 ซม. เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาลส้ม สารสำคัญคือ น้ำมันหอมระเหย กรดวาเรอริก แอนเจนลิซิน วิตามันบี 12 วิตามินเอ ฯล

สรรพคุณ
           ราก       รสหวานสุขุม  บำรุงหัวใจให้แข็งแรง ป้องกันตับ และต้านเชื้อแบคทีเรียชนิดต่างๆ  นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรชนิดนี้สามารถรักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจโรคอัลไซเมอร์ โรคจิต อาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร โรคไมเกรน โรคไตและอื่นๆ


ที่มา  :  http://www.songkhlaportal.com/forums/index.php?topic=187.msg636#msg636


7. กำแพงเจ็ดชั้น








 ชื่อวิทยาศาสตร์  : Salacia chinensis L.
 ชื่อวงศ์ : CELASTRACEAE
 ชื่อพื้นเมือง  : ตะลุ่มนก (ราชบุรี), ตาไก้ (พิษณุโลก, นครราชสีมา), น้ำนอง มะต่อม ไก่ (ภาคเหนือ),   หลุมนก  (ระยอง, ตราด, ประจวบคีรีขันธ์)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ไม้พุ่มรอเลื้อย สูง 2-6 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบหยักหยาบๆ ดอกออกเป็นกลุ่มหรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลืองหรือเหลือง กลีบเลี้ยงเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่ป้อม ผลค่อนข้างกลมหรือรี เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ผลสุกสีแดงหรือแดงอมส้ม มี 1 เมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม

ประโยชน์
             ผลกินได้ ในฟิลิปปินส์ใช้รากเข้ายาแผนโบราณเพื่อบำบัดอาการปวดประจำเดือนหรืออาการประจำเดือนผิดปรกติ


อ้างอิง :  1) ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก. กรุงเทพมหานคร: เพื่อนพิมพ์.


8.เหงือกปลาหมอ







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ebracteatus Wall.  (เหงือกปลาหมอดอกขาว) A. ilicifolious Linn. (เหงือกปลาหมอดอกสีม่วง)
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
 ชื่ออื่นๆ : เหงือกปลาหมอแดง จะเกร็ง อีเกร็ง (สมุทรปราการ) แก้มหมอเล (กระบี่) แก้มหมอ (สตูล)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ไม้พุ่มสูง 1-3 ฟุต ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทามักมีหนามตามข้อๆ ละ 4 หนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรี หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ ปลายซี่เป็นหนามแหลม ผิวใบเรียบมัน เนื้อใบเหนียวแข็งดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมักมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบเหลืองอ่อน กลางกลีบ ผลเป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก เหงือกปลาหมอ เกิดเองตามบริเวณป่าชายเลน บริเวณปากน้ำที่น้ำทะเลขึ้นถึง หรือที่ดินเค็ม ไม่ชอบที่ดอน แถบภาคอีสานก็ปลูกได้เช่นกัน เหงือกปลาหมอ พบอยู่ 2 พันธุ์ คือ ชนิดดอกสีขาว มีดอกสีขาว พบมากในภาคกลางและภาคตะวันออก ชนิดดอกม่วง พบทางภาคใต้ สำหรับเหงือกปลาหมอขาว หรือ เหงือกปลาหมอน้ำจืด มีลักษณะเหมือนเหงือกปลาหมอแดง แต่ใบสีเขียวเข้มมีเส้นใบสีขาว เป็นแนวก้างปลา มีสรรพคุณเหมือนเหงือกปลาหมอแดง

สรรพคุณ
           ผล     :  รสเผ็ดร้อน รบประทานขับโลหิตระดู แก้ฝี
           เมล็ด : รสเผ็ดร้อน รับประทานขับพยาธิ
           ทั้งต้น : รสเค็มกร่อย แก้ฝีดาษ แก้ฝีภายใน แก้โรคผิวหนังน้ำเหลืองเสีย ตำพอกปิดหัวฝี
       

                     - รสเค็มกร่อยร้อน แก้ฝีดาษ แก้ฝีทั้งภายนอกภายใน แก้โรคผิวหนังผื่นคัน ใบเหงือก ปลาหมอขาวใช้รักษาฝีได้ดีกว่าเหงือกปลาหมอชนิดอื่น
                       - เป็นยาเจริญอายุ โดยการปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นผงละลายน้ำผึ้งรับประทาน
                       - ใช้น้ำคั้นจากใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม


อ้างอิง :  http://www.geocities.com/thaimedicinecm/sansilpayathai53gheukplamhor.htm


9. กะเจียน ( นามผีหมอบ )







ชื่อวิทยาศาสตร์ : Polyalthia cerasoides ( Roxb. ) Benth. ex Bedd.ST
ชื่อวงศ์ : ANNONACEAE
 ชื่อพื้นเมือง :  ผีหมอบ กะเจียน ฝีหมอบ ทรายเดน

ลักาณะพฤษศาตร์
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นตั้งตรงสูงใบเดี่ยวรูปหอก ปลายและโคน  แหลม เปลือกต้นสีน้ำตาล เนื้อไม้อ่อนดอกเดี่ยว กลิ่นรูปลิ้นสีเขียวอมเหลือง ผลกลมรีเป็นกลุ่มกลมหมอผีโบราณใช้กิ่งเล็ก ๆ ไล่ตีผีที่เข้าคน ผีจะหมอบด้วยความกลัว เป็นตัวยาที่ใช้แก้ในน้ำเหลือง แก้ฝี ขึ้นตามป่าโปร่ง ป่าดิบแล้งทั่วไป ในเขตวนอุทยานถ้ำเพชร ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณ
            ใบ-สด รสเฝื่อนเย็น ตำพอกฝี แก้ปวด แก้อักเสบ เนื้อไม้ รสขม ต้มน้ำดื่ม แก้วัณโรคในลำไส้ วัณโรคในปอด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดหลัง ปวดเอว แก้ปัสสาวะพิการ แก้กระษัย ไตพิการ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ฝนกับน้ำปูนใส ทาเกลื่อนหัวฝี


ที่มา   :   http://www.takhli.ac.th/thumpet/herbal_4.html



10. หญ้าหนวดแมว







 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Orthosiphon aristatus Mig.
 ชื่อวงศ์   :  LABIATAE
 ชื่อท้องถิ่น : พยับเมฆ (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            หญ้าหนวดแมวเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม ดอกเป็น ช่อสวยงามมาก มีลักษณะคล้ายฉัตร เป็นขั้นๆสีขาวหรือสีม่วง มีเกสรตัวผู้ยาวคล้ายหนวดแมว

สรรพคุณ
             ส่วนที่ใช้เป็นยา   ใบหญ้าหนวดแมว
             ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์   ใบหญ้าหนวดแมว มีโปแตสเซียมสูงปริมาณร้อยละ0.7-0.8 และมี glycoside ที่มีรสขม ชื่อ Orthosiphoninนอกจากนี้ยังพบ essential (0.2-0.6%)saponin, alkloid, organic acid และ fatty oil จากรายงานพบว่าใช้เป็นยาขับปัสสาวะ เช่น ไตอักเสบ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล นพ.วีรสิงห์ เมืองมั่น และคณะ พบว่าได้ใช้ยาชงจากหญ้าหนวดแมว  4 กรัม ชงกับน้ำเดือด 750 ซี.ซี ดื่มต่างน้ำในคนไข้ 27 คนพบว่า ทำให้ปัสสาวะคล่องและใส อาการปวดนิ่วลดลงและขนาดนิ่วลดลง(เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซ.ม.)หลุดออกมาเอง มีร้อยละ 40 ของผู้ป่วย ผู้ป่วยหายปวดนิ่วร้อยละ 20 กองวิจัยการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานเรื่องพิษเฉียบพลันว่าไม่มีพิษ


ที่มา :  http://www.phangngacity.com/samuipai/sa_42.htm


11. ทองพันชั่ง





 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Rhinacanthus nasutus  (L.) Kurz
 ชื่อพ้อง : R. communis  Nees
 ชื่อสามัญ :    White crane flower
 ชื่อวงศ์ :   ACANTHACEAE
 ชื่ออื่น :  ทองคันชั่ง หญ้ามันไก่ (ภาคกลาง)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
           ไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม ส่วนโคนต้นเนื้อไม้เป็นแกนแข็ง ใบ เป็นใบเดี่ยว
ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปไข่ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดประสีม่วงแดง ผล เป็นฝักเล็ก พอแห้งแตกออกได้

สรรพคุณ
           ราก  - แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงู แก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
           ทั้งต้น  - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราด ขับพยาธิตามผิวหนังตามบาดแผล แก้ไส้เลื่อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
           ต้น  - บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
           ใบ  - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บำรุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษ แก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง


ที่มา  :  http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_19.htm


             http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/218





สูตรยาสมุนไพรรักษามะเร็ง

ส่วนผสมของสูตรยา

            สูตรยาสมุนไพรรักษามะเร็งที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่อโรคยศาล  มี 2 สูตรหลัก คือ สูตรที่ 1  ยอดยากินแก้มะเร็งทุกชนิด และ สูตรที่ 2  สูตรยาสมุนไพรสมานฉันท์  ซึ่งทั้งสองสูตรจะมีขั้นตอนการปรุงยาที่เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันที่สมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนประกอบของแต่ละสูตร ดังนี้
                                        
             สูตรที่ 1  ยอดยากินแก้มะเร็งทุกชนิด
            สูตรนี้ประกอบด้วยสมุนไพรจำนวน  11  ชนิด  นำมาต้มรวมกัน  โดยมีปริมาณของสมุนไพรแต่ละชนิดดังนี้
                   1.  หัวร้อยรู  หนัก 50 กรัม
                    2.  ไม้สักหิน  หนัก 50 กรัม
                   3.  ข้าวเย็นเหนือ   หนัก 200 กรัม
                   4.  โกฐจุฬา  หนัก 50 กรัม (ใช้ทั้งต้น)
                    5.  ข้าวเย็นใต้  หนัก 200 กรัม
                   6.  โกฐเชียง  หนัก 50  กรัม
                   7.  กำแพงเจ็ดชั้น  หนัก 50 กรัม
                   8.  เหงือกปลาหมอ หนัก 200 กรัม
                    9.  ผีหมอบ  หนัก 100 กรัม
                 10.  หญ้าหนวดแมว หนัก 50 กรัม
                 11.  ทองพันชั่ง  หนัก 200 กรัม (ใช้ทั้งต้น)



         สูตรที่ 2  สูตรยาสมุนไพรสมานฉันท์
         สูตรนี้ประกอบด้วยสมุนไพรจำนวน  10 ชนิด  นำมาต้มรวมกัน  โดยมีปริมาณของสมุนไพรแต่ละชนิดดังนี้
                 1.  กำลังเสือโคร่ง หนัก 100 กรัม (ใช้เปลือกต้นไม้)
                  2.  ม้ากระทืบโรง หนัก 50 กรัม
                 3.  ช้างน้าว  หนัก 40 กรัม  (ใช้ส่วนของเปลือกและลำต้น)
                  4.  จ้อนเน่า  หนัก 30 กรัม (ใช้ส่วนของเปลือกและลำต้น)
                  5.  ตะไคร้ต้น  หนัก 30 กรัม (ใช้ส่วนของเปลือกและลำต้น)
                  6.  ขันทอง  หนัก 30 กรัม (ใช้ส่วนของลำต้น)
                  7.  ย่านางแดง  หนัก 30 กรัม (ใช้ทั้งต้น)
                  8.  ฝางแดง  หนัก 30 กรัม (ใช้ส่วนของเปลือกและลำต้น)
                  9.  ฟ้าทะลายโจร  หนัก 5 กรัม (ใช้ทั้งต้น)
                10. แฮ่ม   หนัก 5 กรัม (ใช้ส่วนของเปลือกและลำต้น)


อ้างอิงจาก   เอกสารประกอบการพิจารณาเสนอให้ ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วท.ด.) สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน และ หนังสือสมาธิบำบัด อโรคยศาล วัดคำประมง
แหล่งที่มhttp://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/44

สมุนไพรต้านมะเร็ง

วิจัย..สมุนไพรต้านมะเร็ง ในรูปแบบของอาหาร ประจำวัน

          มะเร็ง คือ โรคร้าย...ที่คร่าชีวิตมนุษย์ได้ทุกชนชั้น แม้ว่าจะไม่ฉับพลันเหมือนอุบัติเหตุ แต่มันก็ร้ายกว่าคือสร้างความเจ็บปวดและทุกข์ทรมาน..


           เพื่อบรรเทาต่อความเลวร้าย...คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คิดค้นปัดฝุ่น เอาสมุนไพรไทยมาช่วยบำบัด คือทั้งให้เป็นโอสถสารและอาหารประจำวัน ทดแทนการบำบัดด้วยสารเคมีและการฉายรังสี...

           รศ.พรทิพย์ เชื้อมโนชาญ รองคณบดีเครือข่ายวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ พูดถึงความเป็นมาว่า....คณะเภสัชศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพ ของผู้ป่วยมะเร็ง ที่มีอาการข้างเคียงต่างๆ จึงร่วมกับ มูลนิธิต่อต้านโรคมะเร็งภาคเหนือ คณะแพทยศาสตร์ จัดทำ “โครงการดูแลและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งด้วยสมุนไพรไทย” ใน บ้านนันทราษฎร์ ซึ่งเป็นบ้านพักผู้ป่วยมะเร็ง โดยการทำสวนสมุนไพรในบริเวณบ้านพัก เพื่อเป็นแหล่งสมุนไพรให้ผู้ป่วยและญาติสามารถนำสมุนไพรไปใช้และให้ความรู้เกี่ยวกับ การลดอาการข้างเคียง
            กิจกรรมในการนำสมุนไพรมาใช้ในผู้ป่วยนั้น จักต้องให้ความรู้และความเข้าใจ แก่ผู้ป่วยและญาติไปพร้อมๆกัน...จึงจะได้บรรลุผลตาม
ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว จาก ศูนย์วิจัยสมุนไพรภาคเหนือ บอกว่า การดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยด้วยสมุนไพรและผักพื้นบ้าน เป็นการสร้างความสำคัญ ให้ผู้ป่วยมีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานและชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและ...สมุนไพรกับผักพื้นบ้านนั้น ต้องไม่ส่งผลรบกวนต่อการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ที่ผู้ป่วยมะเร็งได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเคมีบำบัด หรือการฉายรังสี ซึ่งมีสมุนไพรหลายชนิดที่สามารถลดอาการข้างเคียงของผู้ป่วยมะเร็ง ที่สำคัญสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทยหลายชนิดให้ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่ดี จึงเหมาะที่จะนำมาดูแลสุขภาพในรูปแบบของอาหาร


           สมุนไพรที่พบว่าให้ผลในการรักษาและมีความปลอดภัยสูง มีหลายชนิด เช่น กระชาย และ ขิง ที่มีองค์ประกอบสำคัญคือ Volatile oil ประมาณ 0.08-2% ใช้บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ขับเสมหะ...
บอระเพ็ด ใช้เพื่อรักษาอาการเบื่ออาหาร ไพล มีองค์ประกอบสำคัญ คือ Volatile oil, curcumin และมีสารในกลุ่ม phenylbutanoids ที่ให้ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อาการเคล็ดขัดยอกฟกช้ำ
           ฟ้าทะลายโจร ใช้รักษาอาการเบื่ออาหาร ข้อควรระวังในการใช้ คือ อาจเกิดอาการปวดท้อง ปวดเอว เวียนหัว ซึ่งนั่นแสดงว่าเกิดอาการ แพ้ยา...ควรหยุดยา โดยเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนาน เพราะเป็นยาเย็น จะทำให้มือและเท้าชาอ่อนแรง... มะแว้งเครือ หรือ มะแว้งต้น ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
          ผศ.ดร.สุนีย์ จันทร์สกาว ยังบอกต่ออีกว่า....ผู้ป่วยมะเร็งควรรับประทานผักพื้นบ้าน เช่น ผักที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ใบชะพลู ผักแพว ใบยอ ผักกะเฉด ยอดแค สะเดา สะแล มะเขือพวง ขี้เหล็ก ใบเหลือง ผักแส้ว กระถิน ตำลึง ผักฮ้วน
         ผักที่มีเบต้าแคโรทีนสูง ได้แก่ ใบย่านาง ผักแพว ตำลึง ยอดแค ใบกะเพรา ผักแว่น ใบแมงลัก ชะอม ฟักทอง ผักที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ผักกูด ขมิ้นขาว ผักแว่น ใบแมงลัก ใบกะเพรา ยอดมะกอก กระถิน ชะพลู ขี้เหล็ก ผักแขยง
         ผักที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ ดอกขี้เหล็ก ดอกและยอดผักฮ้วน มะรุม พริก ยอดสะเดา มะระขี้นก ผักหวาน ผักเชียงดา ผักขี้หูด ผักแพว

        รศ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ผู้ร่วมโครงการ หนึ่งในทีมงานวิจัยสมุนไพรไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า....การนำพืชผักมาให้ผู้ป่วยรับประทานได้อย่างเหมาะสมกับสภาพร่างกาย ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ควรใส่ใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็ง มักมีร่างกายซูบผอม เนื่องจากมีความรู้สึกหดหู่ ขาดกำลังใจ มีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารไม่ได้หรือเบื่ออาหาร...จึงต้องปรับวิธีการปรุงอาหาร ทั้งการให้ผักสดปั่น ผักต้มปั่นและธัญพืชปั่น ซึ่งมีพืชผักหลายชนิดที่นำมาปั่นได้ เช่น มะเขือเทศ มะนาว ผักกาดหอม เมล็ดถั่ว เป็นต้น
         ซึ่งการปั่นจะทำให้ไม่ต้องเคี้ยวนาน ลดภาระการย่อย ทำให้ดูดซึมได้เร็วได้รับทั้งสารอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และสรรพคุณด้านยา เมื่อผู้ป่วยมะเร็งแข็งแรงระดับหนึ่ง แล้วก็สามารถรับประทานอาหารพื้นบ้านรสไม่จัด ก็อยากจะแนะนำเสริมว่า ควรรับประทานอาหารที่ปราศจากเนื้อสัตว์
        อย่างไรก็ตาม การใช้สมุนไพรและพืชผักพื้นบ้านเป็นทางเลือกเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง ที่จะนำไปปรับใช้เพื่อลดอาการข้างเคียงและเสริมสร้างสุขภาพ ทั้งตัวผู้ป่วย ญาติหรือผู้ดูแล ซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจเป็นสำคัญ... และที่ขาดไม่ได้คือ การให้ความรัก เอาใจใส่ ทำให้ มีกำลังใจ และ มีความสุข...ก็จะสามารถ ต่อสู้โรคร้าย ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกอย่างยาวนาน

ข้อมูลเพิ่มเติม
          ++ Antioxidant สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการก่อมะเร็ง
          ++ สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคมะเร็ง



ที่มา: http://women.sanook.com/health/herbal/herbal_46851.php

          http://pineapple-eyes.snru.ac.th/alo/index.php?q=node/58